Page 2 - คู่มือการใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์
P. 2
(๑)
ค าปรารภ
ประธานศาลฎีกา
การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรมต้องค านึงถึงสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค สามารถ
อ านวยความยุติธรรมให้กับประชาชนได้อย่างทั่วถึง โดยรักษาดุลยภาพแห่งสิทธิของคู่ความทุกฝ่าย
และการจะให้บังเกิดผลเช่นนั้น ผู้ปฏิบัติจ าเป็นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและปรับวิธีการท างาน
ให้เท่าทันกับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการน าเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการคดีของศาล
เป็นวิธีการที่สะดวก รวดเร็ว สามารถกระจายความยุติธรรมได้อย่างอย่างทั่วถึง ยั่งยืน และมีประสิทธิภาพ
ดิฉันเล็งเห็นถึงความส าคัญและความจ าเป็นในการสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ความเข้าใจ
ในเรื่องดังกล่าว จึงแต่งตั้งคณะท างานนิเทศ ติดตาม ส่งเสริม และสนับสนุนการพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์
ในศาลชั้นต้น ขึ้น ซึ่งได้จัดท าคู่มือการใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนการพิจารณาคดีออนไลน์
ฉบับนี้ โดยเป็นไปตามข้อก าหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๖๓ ซึ่งออกโดยอาศัยอ านาจตามความในมาตรา ๓๔/๑ มาตรา ๕๑ วรรคสอง และมาตรา ๖๘
แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ส าหรับใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน ศึกษา ค้นคว้าและ
อ้างอิง แก่ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมที่เกี่ยวข้อง
ในโอกาสนี้ ขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดท าคู่มือพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์
ส่วนการพิจารณาคดีออนไลน์ทุกท่านที่เสียสละ อุทิศเวลา ด าเนินการด้วยความวิริยอุตสาหะปฏิบัติหน้าที่
ตามที่ได้รับมอบหมายจนบรรลุวัตถุประสงค์ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้าราชการตุลาการทุกท่านจะได้น า
คู่มือนี้ไปใช้ในการอ านวยความยุติธรรมแก่คู่ความประชาชนสืบไป
(นางเมทินี ชโลธร)
ประธานศาลฎีกา