Page 15 - LAW-01
P. 15

5



                                                       หน้า   ๑๗

              เล่ม   ๑๓๔   ตอนที่   ๒๔   ก          ราชกิจจานุเบกษา                ๒๔   กุมภาพันธ์   ๒๕๖๐


                      (๖)  การจัดซื้อจัดจ้างของสถาบันอุดมศึกษาหรือสถานพยาบาลที่เป็นหน่วยงานของรัฐโดยใช้

              เงินบริจาครวมทั้งดอกผลของเงินบริจาค  โดยไม่ใช้เงินบริจาคนั้นร่วมกับเงินงบประมาณ
                      การจัดซื้อจัดจ้างตาม  (๑)  (๒)  และ  (๓)  ที่ได้รับยกเว้นมิให้นําพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ

              ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา  โดยประกาศ
              ดังกล่าวจะกําหนดให้หน่วยงานของรัฐเสนอเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างใดตาม  (๑)  (๒)  หรือ  (๓)  ต่อ

              คณะกรรมการนโยบายเพื่ออนุมัติให้ได้รับยกเว้นเป็นรายกรณีไปก็ได้
                      การยกเว้นมิให้นําบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับแก่การจัดซื้อจัดจ้างใดทั้งหมด

              หรือแต่บางส่วนนอกเหนือจากการยกเว้นตามวรรคหนึ่ง  ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามข้อเสนอของ
              คณะกรรมการนโยบาย

                      กรณีตามวรรคหนึ่งและวรรคสาม  ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีกฎหรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดซื้อ
              จัดจ้างและการบริหารพัสดุตามหลักเกณฑ์และแนวทางของพระราชบัญญัตินี้  โดยอย่างน้อยต้องมีหลักการ

              ตามมาตรา  ๘  วรรคหนึ่ง
                      การจัดซื้อจัดจ้างตาม  (๖)  นอกจากสถาบันอุดมศึกษาหรือสถานพยาบาลที่เป็นหน่วยงานของรัฐ

              ต้องดําเนินการตามวรรคสี่แล้ว  ให้สถาบันอุดมศึกษาหรือสถานพยาบาลที่เป็นหน่วยงานของรัฐนั้นรายงาน
              ผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการนโยบายตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการนโยบายกําหนด

                      มาตรา  ๘        การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐต้องก่อให้เกิด
              ประโยชน์สูงสุดแก่หน่วยงานของรัฐ  และต้องสอดคล้องกับหลักการ  ดังต่อไปนี้

                      (๑)  คุ้มค่า  โดยพัสดุที่จัดซื้อจัดจ้างต้องมีคุณภาพหรือคุณลักษณะที่ตอบสนองวัตถุประสงค์
              ในการใช้งานของหน่วยงานของรัฐ  มีราคาที่เหมาะสม  และมีแผนการบริหารพัสดุที่เหมาะสมและชัดเจน

                      (๒)  โปร่งใส  โดยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุต้องกระทําโดยเปิดเผย  เปิดโอกาสให้มี
              การแข่งขันอย่างเป็นธรรม  มีการปฏิบัติต่อผู้ประกอบการทุกรายโดยเท่าเทียมกัน  มีระยะเวลาที่เหมาะสม

              และเพียงพอต่อการยื่นข้อเสนอ  มีหลักฐานการดําเนินงานชัดเจน  และมีการเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง
              และการบริหารพัสดุในทุกขั้นตอน

                      (๓)  มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  โดยต้องมีการวางแผนการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ
              ล่วงหน้าเพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีกําหนดเวลาที่เหมาะสม

              โดยมีการประเมินและเปิดเผยผลสัมฤทธิ์ของการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ
                      (๔)  ตรวจสอบได้  โดยมีการเก็บข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุอย่างเป็นระบบ

              เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ
                      ให้หน่วยงานของรัฐใช้หลักการตามวรรคหนึ่งเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง

              และการบริหารพัสดุ  หากการจัดซื้อจัดจ้างไม่เป็นไปตามหลักการดังกล่าว  แต่ไม่มีผลต่อการจัดซื้อจัดจ้าง
              อย่างมีนัยสําคัญ  หรือเกิดจากกรณีเร่งด่วน  หรือมีเหตุผลหรือความจําเป็นอื่น  การจัดซื้อจัดจ้างนั้นย่อมไม่เสียไป
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20