Page 4 - รายงานประจำปี 2564 คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
P. 4
สาร
จากประธานกรรมการวินิจฉัยชี้ขาด
อำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
นับแต่ปี ๒๕๔๒ เป็นต้นมา ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง
และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ระบบศาลในประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลง
จาก “ระบบศาลเดี่ยว” ที่มีศาลยุติธรรมมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง
มาเป็น “ระบบศาลคู่” ซึ่งมีศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง
ที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลอื่น และมีศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษา
คดีปกครอง นอกจากนี้ ยังมีศาลทหารซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญา
ซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ด้วยระบบศาลที่ต่างมีอิสระ
ในการพิจารณาพิพากษาคดี จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีปัญหาการขัดกันเรื่อง
เขตอำนาจศาลและปัญหาคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน
ขึ้นได้
รัฐธรรมนูญจึงกำหนดให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่
ระหว่างศาล มีหน้าที่ในการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจระหว่างศาลยุติธรรม ศาลปกครอง
หรือศาลทหาร โดยมีประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุด
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกินสี่คนตามที่กฎหมาย
บัญญัติ เป็นกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ได้ดำเนินการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลมาแล้วจนถึงปัจจุบัน
ได้วางหลักเกณฑ์อำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาระหว่างศาลยุติธรรม
ศาลปกครองและศาลทหารไว้เป็นจำนวนมาก โดยเผยแพร่คำวินิจฉัยและ
หลักเกณฑ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ ทำให้ประชาชนผู้มีอรรถคดีฟ้องคดีได้อย่างถูกต้อง
และได้รับการอำนวยความยุติธรรมอย่างรวดเร็ว ลดภาระค่าใช้จ่าย และลดระยะเวลา
ในการดำเนินคดีอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา
2 ร า ย ง า น ป ร ะ จ ำ ปี ๒ ๕ ๖ ๔
คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล