Page 12 - คู่มือปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุตจริตฯ
P. 12
คู่มือการปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
| 1
บทน า
1. ความเป็นมา
ศาลอาญาคดีทุจริตฯ จัดตั้งขึ้นโดย พ.ร.บ. จัดตั้งฯ ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่
17 สิงหาคม 2559 ประกอบด้วยศาลอาญาคดีทุจริตฯ กลางและศาลอาญาคดีทุจริตฯ ภาค
ส่วนการเปิดท าการศาลอาญาคดีทุจริตฯ กลาง เปิดท าการเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๙
ศาลอาญาคดีทุจริตฯ ภาค ๑ ภาค ๓ ถึงภาค ๖ ภาค ๘ และภาค ๙ เปิดท าการเมื่อวันที่
๑ เมษายน ๒๕๖๐ และศาลอาญาคดีทุจริตฯ ภาค ๒ กับภาค ๗ เปิดท าการเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม
๒๕๖๐ และการด าเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปตาม พ.ร.บ. วิ. ทุจริตฯ และข้อบังคับของ
ประธานศาลฎีกาฯ
ส าหรับการพิจารณาคดีอาญาในระบบไต่สวนของศาลชั้นต้นก่อนหน้านี้นั้น แม้ว่า
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
(แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2554) มาตรา 98/1 บัญญัติให้การด าเนินกระบวนพิจารณาคดีเกี่ยวกับ
การฟ้องคดีบุคคลตามมาตรา 84 ต่อศาลที่มีเขตอ านาจตาม ป.วิ.อ. ให้ศาลใช้ระบบไต่สวน ตาม
ระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาก าหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งต่อมา ในปี 2556
ประธานศาลฎีกา โดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาออกระเบียบที่ประชุมใหญ่
ศาลฎีกาว่าด้วยการด าเนินกระบวนพิจารณาโดยใช้ระบบไต่สวนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมิใช่
ผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมืองตามมาตรา ๒๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2556 มาใช้บังคับเป็นวิธีพิจารณาคดีอาญาระบบไต่สวนเรื่อยมา รวมระยะเวลานานกว่า
๕ ปี ก็ตาม แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวการพิจารณาคดีอาญาระบบไต่สวนในแต่ละศาลยังไม่เป็นไป
ในทิศทางเดียวกัน ทั้งไม่เคยมีการออกระเบียบหรือแนวทางการปฏิบัติงานของศาลในเรื่องนี้
ไว้ด้วย ประกอบกับ พ.ร.บ. วิ. ทุจริตฯ มีบทบัญญัติเพียง 53 มาตรา และหลายมาตราเป็นการ
บัญญัติเฉพาะเรื่องที่แตกต่างจากวิธีพิจารณาคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. เดิมทั้งสิ้น เช่น องค์คณะ
ผู้พิพากษามีบทบาทในการไต่สวนค้นหาความจริง การมิให้นับระยะเวลาที่ผู้ถูกกล่าวหา หรือ
จ าเลยหลบหนีรวมเป็นส่วนหนึ่งของอายุความ หรือการฎีกาที่ต้องได้รับการอนุญาตจาก
ศาลฎีกา เป็นต้น ส่วนที่ไม่ได้บัญญัติไว้ถูกโยงให้กลับไปใช้หลักวิธีพิจารณาความอาญาตาม