Page 343 - รวมกฎหมายยาเสพติด 2563
P. 343
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒
331
(๑๐๑)
มาตรา ๑๐๐ กรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือข้าราชการ หรือพนักงาน
องค์การหรือหน่วยงานของรัฐผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่ง
ยาเสพติดให้โทษ หรือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าว อันเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
(๑๐๒) มาตรา ๑๐๐/๑ ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษจำคุกและปรับ ให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับ
ด้วยเสมอ โดยคำนึงถึงการลงโทษในทางทรัพย์สินเพื่อป้องปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ
ถ้าศาลเห็นว่าการกระทำความผิดของผู้ใดเมื่อได้พิเคราะห์ถึงความร้ายแรงของการกระทำความผิดฐานะ
ของผู้กระทำความผิดและพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องประกอบแล้ว กรณีมีเหตุอันสมควรเป็นการเฉพาะราย ศาลจะ
ลงโทษปรับน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้
(๑๐๓)
มาตรา ๑๐๐/๒ ถ้าศาลเห็นว่าผู้กระทำความผิดผู้ใดได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
ในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจหรือ
พนักงานสอบสวน ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้
(๑๐๔)
มาตรา ๑๐๑ ในกรณีที่มีการยึดยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ ประเภท ๒ หรือประเภท ๓
ตามมาตรา ๔๙ (๒) หรือตามกฎหมายอื่น และไม่มีการฟ้องคดีต่อศาล ถ้าไม่มีผู้ใดมาอ้างว่าเป็นเจ้าของภายใน
กำหนดหกเดือนนับแต่วันที่ยึด ให้ยาเสพติดให้โทษนั้นตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุข
(๑๐๕)
มาตรา ๑๐๑ ทวิ ในกรณีที่มีการยึดยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ หรือประเภท ๕ ตามมาตรา ๔๙ (๒)
หรือตามกฎหมายอื่น ไม่ว่าจะมีการฟ้องคดีต่อศาลหรือไม่ก็ตาม เมื่อได้มีการตรวจพิสูจน์ชนิดและปริมาณแล้ว
ว่าเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภทดังกล่าว โดยบันทึกรายงานการตรวจพิสูจน์ไว้ ให้กระทรวงสาธารณสุขหรือ
ผู้ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมอบหมายทำลายหรือนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามระเบียบที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
มาตรา ๑๐๒ บรรดายาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ ประเภท ๒ ประเภท ๔ หรือประเภท ๕ เครื่องมือ
(๑๐๖)
เครื่องใช้ ยานพาหนะหรือวัตถุอื่น ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ อันเป็น
ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ริบเสียทั้งสิ้น
(๑๐๗)
มาตรา ๑๐๒ ทวิ ในกรณีที่มีการฟ้องคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ หรือ
ในประเภท ๒ ต่อศาล และไม่ได้มีการโต้แย้งเรื่องประเภท จำนวน หรือน้ำหนักของยาเสพติดให้โทษ ถ้าศาลชั้นต้น
มคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ริบยาเสพติดให้โทษดังกล่าวตามมาตรา ๑๐๒ หรือตามกฎหมายอื่น และไม่มีคำเสนอว่า
ี
ผู้เป็นเจ้าของแท้จริงไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลมี
คำพิพากษาหรือคำสั่งให้ริบยาเสพติดให้โทษนั้น ให้กระทรวงสาธารณสุขหรือผู้ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข
มอบหมายทำลายหรือนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามระเบียบที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
(๑๐๑) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓๕ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน
(๑๐๒)-(๑๐๓) มาตรา ๑๐๐/๑ และมาตรา ๑๐๐/๒ เพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓๖
(๑๐๔) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตรา ๑๑ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน
(๑๐๕) มาตรา ๑๐๑ ทวิ เพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตรา ๑๒
(๑๐๖)
นอกเหนือจากทรัพย์สินที่เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ หรือวัตถุอื่น ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับ
ยาเสพติดให้โทษจะถูกร้องขอให้ริบตามมาตรา ๑๐๒ นี้แล้ว ยังอาจถูกร้องขอให้ริบตามมาตรา ๓๐ แห่ง พ.ร.บ.มาตรการ
ในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔ ก็ได้ โดยผลจะแตกต่างกันคือ หากมีการร้องขอให้ริบ
ตามมาตรา ๑๐๒ นี้ ทรัพย์สินจะตกเป็นของแผ่นดินแต่หากมีการร้องขอให้ริบตามมาตรา ๓๐ แห่ง พ.ร.บ.มาตรการฯ
ทรัพย์สินจะตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
(๑๐๗) มาตรา ๑๐๒ ทวิ เพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๓ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๑๑๑ ก ลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๓
��� 6���.P302-391.indd 331 3/4/20 5:48:13 PM