Page 404 - รวมกฎหมายยาเสพติด 2563
P. 404

392        สำนักงาน ป.ป.ส.













                                               พระราชบัญญัติ

                                       วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท

                                                 พ.ศ. ๒๕๕๙


                       สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

                                    ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙

                                         เป็นปีที่ ๑ ในรัชกาลปัจจุบัน


               	     สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
                     โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
                     จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของ

               สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
               	     มาตรา ๑	 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. ๒๕๕๙”
               	     มาตรา ๒   พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศ
                            (๑)
               ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
               	     มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
                     (๑) พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. ๒๕๑๘
                     (๒) พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๘
                     (๓) พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๕
                     (๔) พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๓

               	     มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
                     “วัตถุออกฤทธิ์” หมายความว่า วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่เป็นสิ่งธรรมชาติหรือที่ได้จาก
               สิ่งธรรมชาติ หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่เป็นวัตถุสังเคราะห์ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
                     “วัตถุตำรับ” หมายความว่า สิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใดที่มีวัตถุออกฤทธิ์รวมอยู่ด้วย ทั้งนี้
               รวมทั้งวัตถุออกฤทธิ์ที่มีลักษณะเป็นวัตถุสำเร็จรูปทางเภสัชกรรมซึ่งพร้อมที่จะนำไปใช้แก่คนหรือสัตว์ได้
                     “วัตถุตำรับยกเว้น”  หมายความว่า  วัตถุตำรับที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้ได้รับการยกเว้น
               จากมาตรการควบคุมบางประการสำหรับวัตถุออกฤทธิ์ที่มีอยู่ในวัตถุตำรับนั้น

                     “ฉลาก” หมายความว่า รูป รอยประดิษฐ์ เครื่องหมายหรือข้อความใด ๆ ซึ่งแสดงไว้ที่ภาชนะ
               หรือหีบห่อบรรจุวัตถุออกฤทธิ์

               (๑)     ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๑๐๗ ก/หน้า ๑/๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๙







       ��� 7���P392-457.indd   392                                                                 3/4/20   5:54:29 PM
   399   400   401   402   403   404   405   406   407   408   409