Page 416 - รวมกฎหมายยาเสพติด 2563
P. 416
404 สำนักงาน ป.ป.ส.
มาตรา ๔๗ ผู้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ มาตรา ๑๖ มาตรา ๒๐ หรือมาตรา ๘๘
ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม หรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง
ซึ่งมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ไว้ในครอบครองในปริมาณไม่เกินที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ตามมาตรา ๙๐ รวมทั้งกระทรวง ทบวง กรม และสภากาชาดไทยหรือหน่วยงานของรัฐตามที่รัฐมนตรี
ประกาศกำหนด ที่ได้ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการผลิต การขาย การนำเข้า การส่งออก การนำผ่าน หรือการมีไว้
ในครอบครองซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ที่มิใช่วัตถุตำรับยกเว้น ต้องเสนอรายงานเกี่ยวกับการดำเนินกิจการดังกล่าวต่อ
เลขาธิการ
รายงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบและระยะเวลาที่เลขาธิการกำหนดโดยประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษา
หมวด ๔
หน้าที่ของเภสัชกร
มาตรา ๔๘ ให้เภสัชกรผู้มีหน้าที่ควบคุมการผลิตวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) ควบคุมการผลิตวัตถุออกฤทธิ์ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ควบคุมให้มีฉลากและเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ตามมาตรา ๓๑ (๒)
(๓) ควบคุมให้มีการแยกเก็บวัตถุออกฤทธิ์เป็นส่วนสัดจากยาหรือวัตถุอื่น
(๔) ควบคุมการทำบัญชีเกี่ยวกับการผลิตวัตถุออกฤทธิ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข
ที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๕) ต้องอยู่ประจำควบคุมกิจการตลอดเวลาที่เปิดทำการ
มาตรา ๔๙ ให้เภสัชกรผู้มีหน้าที่ควบคุมการผลิตวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔
ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) ควบคุมการผลิตวัตถุออกฤทธิ์ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ควบคุมให้มีฉลากและเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ตามมาตรา ๓๒ (๓)
(๓) ควบคุมให้มีการแยกเก็บวัตถุออกฤทธิ์เป็นส่วนสัดจากยาหรือวัตถุอื่น
(๔) ควบคุมการทำบัญชีเกี่ยวกับการผลิตวัตถุออกฤทธิ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข
ที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๕) ต้องอยู่ประจำควบคุมกิจการตลอดเวลาที่เปิดทำการ
มาตรา ๕๐ ให้เภสัชกรผู้มีหน้าที่ควบคุมการขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) ควบคุมการขายวัตถุออกฤทธิ์ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ควบคุมการปฏิบัติเกี่ยวกับฉลากและเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ตามมาตรา ๓๓ (๑)
(๓) ควบคุมให้มีการแยกเก็บวัตถุออกฤทธิ์เป็นส่วนสัดจากยาหรือวัตถุอื่น
(๔) ควบคุมการทำบัญชีเกี่ยวกับการขายวัตถุออกฤทธิ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข
ที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๕) ต้องอยู่ประจำควบคุมกิจการตลอดเวลาที่เปิดทำการ
��� 7���P392-457.indd 404 3/4/20 5:54:42 PM