Page 457 - รวมกฎหมายยาเสพติด 2563
P. 457
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. ๒๕๕๙ 445
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง กำหนดชื่อและปริมาณวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมหรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่งมีไว้ในครอบครองได้ตามมาตรา ๙๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๗ (๑๐) และมาตรา ๙๐ แห่งพระราชบัญญัติ
วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. ๒๕๕๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำ
ของคณะกรรมการวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมหรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์
ชั้นหนึ่ง มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ไว้ในครอบครองได้ไม่เกินปริมาณที่กำหนดโดยไม่ต้อง
ขออนุญาตตามมาตรา ๙๐ ดังนี้
วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓
(๑) อะโมบาร์บิตาล (amobarbital) ๑๐ กรัม
(๒) เพนตาโซซีน (pentazocine) ๑ กรัม
(๓) เพนโตบาร์บิตาล (pentobarbital) ๑๐ กรัม
วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๔
(๑) โบรมาซีแพม (bromazepam) ๖ กรัม
(๒) คลอร์ไดอาซีพอกไซด์ (chlordiazepoxide) ๒๕๐ กรัม
(๓) โคลบาแซม (clobazam) ๑๐ กรัม
(๔) โคลนาซีแพม (clonazepam) ๒๐ กรัม
(๕) คลอราซีแพท (clorazepate) ๑๐ กรัม
(๖) ไดอาซีแพม (diazepam) ๑๐ กรัม
(๗) ลอราซีแพม(lorazepam) ๒ กรัม
(๘) เมดาซีแพม(medazepam) ๑๐ กรัม
(๙) ฟีโนบาร์บิตาล (phenobarbital) ๑๐๐ กรัม
(๑๐) พินาซีแพม (pinazepam) ๕ กรัม
(๑๑) พราซีแพม (prazepam) ๑๐ กรัม
(๑๒) โทฟีโซแพม (tofisopam) ๕๐ กรัม
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (๑)
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ปิยะสกล สกลสัตยาทร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(๑) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๒๓๗ ง ลงวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๑
��� 7���P392-457.indd 445 3/4/20 5:55:33 PM