Page 57 - รวมกฎหมายยาเสพติด 2563
P. 57

พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๑๙


                          (๒)  แจ้งสิทธิของผู้ต้องหาที่จะไม่ให้ถ้อยคำเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเองอันอาจทำให้ตนถูกฟ้องคดีอาญา
                          (๓)  แจ้งสิทธิขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการถูกจับ
                    และสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรก
                          (๔)  แจ้งสิทธิในการพบและปรึกษาทนายความเป็นการเฉพาะตัว สิทธิได้รับการเยี่ยมตามสมควร และ
                    สิทธิได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย
                          (๕)  ทำบันทึกรายละเอียดแห่งการสอบสวน โดยระบุสิทธิของผู้ต้องหาตาม (๑) - (๔) พร้อมทั้งระบุว่า
                    ผู้ต้องหาปฏิเสธหรือยินยอมให้สอบปากคำด้วยความสมัครใจ พร้อมรายละเอียดเกี่ยวกับข้อเท็จจริงหรือ
                    พฤติการณ์ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เมื่อทำบันทึกเสร็จแล้วให้อ่านให้ผู้ต้องหาฟังและ
                    ลงลายมือชี่อรับรองไว้  หากผู้ต้องหาไม่ยอมลงลายมือชื่อ  ให้หมายเหตุไว้ในบันทึกการสอบสวน
                          ข้อ ๒๐  การปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๔ (๗) ให้เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ปฏิบัติดังนี้
                          (๑)  ทำหนังสือโดยระบุ ชื่อ ตำแหน่ง สังกัด และอำนาจที่ได้รับมอบหมายมอบให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกครั้ง
                          (๒)  ทำรายงานตามแบบที่เลขาธิการกำหนด ส่งให้เลขาธิการทราบภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้
                    ปฏิบัติหน้าที่
                          ข้อ ๒๑  การปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา  ๑๔  ทวิ  ให้เจ้าพนักงาน  ป.ป.ส.  ปฏิบัติตามประกาศ
                    คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการตรวจหรือ
                    ทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดมีสารเสพติดอยู่ในร่างกายหรือไม่ แล้วให้รายงานตามแบบที่เลขาธิการ
                    กำหนดส่งให้เลขาธิการทราบภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ดำเนินการเสร็จ
                          ข้อ ๒๒  การปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๔ ตรี ให้เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ขอความช่วยเหลือจากบุคคล
                    ในการปฏิบัติหน้าที่ตามลำดับ ดังต่อไปนี้
                          (๑)  เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
                          (๒)  เจ้าพนักงาน ข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น พนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ หรือ
                    พนักงานรัฐวิสาหกิจ
                          (๓)  บุคคลทั่วไป
                          การปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่งจะบังคับให้บุคคลใดช่วยเหลือโดยอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลนั้นไม่ได้
                    และให้บันทึกรายละเอียดการช่วยเหลือไว้ท้ายรายงาน หรือบันทึกตามข้อ ๑๕ (๕) ข้อ ๑๖ (๒) ข้อ ๑๗ (๕)
                    หรือข้อ ๒๑ แล้วแต่กรณี
                          ข้อ ๒๓  การปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา  ๑๔  จัตวา  ให้เจ้าพนักงาน  ป.ป.ส.  ปฏิบัติตามระเบียบ
                    คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ว่าด้วยการได้มา การใช้ประโยชน์และการเก็บรักษาข้อมูล
                    ข่าวสาร
                               (๕)  ข้อ ๒๔ การควบคุมผู้ถูกจับเพื่อสอบสวนตามมาตรา ๑๕ จะกระทำได้เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการ
                    สอบสวนผู้ถูกจับเพื่อรวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด
                    เท่านั้น ในกรณีที่เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ที่เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ
                    ตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงานหรือข้าราชการตำรวจชั้นยศตั้งแต่ร้อยตำรวจเอกลงมาหรือข้าราชการ
                    ทหารชั้นยศตั้งแต่ร้อยเอกหรือเทียบเท่าลงมา เป็นผู้ควบคุมผู้ถูกจับ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชา
                    เหนือขึ้นไปหนึ่งระดับ หากจะควบคุมเกินยี่สิบสี่ชั่วโมงต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาหัวหน้าหน่วยงาน
                          เมื่อมีการควบคุมตามวรรคหนึ่ง ให้บันทึกการควบคุมไว้ท้ายรายงานตามข้อ ๑๗ (๕) ด้วย

                    (๕)    ข้อ ๒๔ วรรคหนึ่ง เดิมถูกยกเลิกโดย ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ว่าด้วยการแต่งตั้ง การปฏิบัติ
                           หน้าที่และการกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ข้อ ๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน








       ��.���.1-140.indd   45                                                                      3/4/20   4:43:02 PM
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62