Page 88 - รวมกฎหมายยาเสพติด 2563
P. 88
สำนักงาน ป.ป.ส.
“เจ้าพนักงาน ป.ป.ส.” หมายความว่า เจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
พ.ศ. ๒๕๑๙
“พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ” หมายความว่า พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
“ฟังการสอบสวน” หมายความว่า รับฟังการสอบสวนตั้งแต่พนักงานสอบสวนเริ่มดำเนินการสอบสวน
จนกว่าการสอบสวนจะแล้วเสร็จ
ข้อ ๕ ให้เลขาธิการ ป.ป.ส. มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการประสานงานระหว่าง ป.ป.ส. กับ
กรมตำรวจ สำนักงานอัยการสูงสุด กรมราชทัณฑ์ และส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๖ ให้สำนักงาน ป.ป.ส. กรมตำรวจ สำนักงานอัยการสูงสุด กรมราชทัณฑ์ และส่วนราชการอื่น
ที่เกี่ยวข้องวางระเบียบ หรือออกคำสั่งภายในส่วนราชการนั้น เพื่อปฏิบัติตามระเบียบนี้
ข้อ ๗ เมื่อได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจให้ความร่วมมือ
ในการจับกุมหรือตรวจค้นในคดีความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด
ข้อ ๘ การแจ้งขอความร่วมมือของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ตามข้อ ๗ จะแจ้งเป็นหนังสือหรือด้วยวาจา
ก็ได้ตามแต่พฤติการณ์และความจำเป็น ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้ได้รับแจ้งบันทึกการแจ้ง
ขอความร่วมมือในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี
ในกรณีที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ไม่สามารถให้ความร่วมมือได้ ก็ให้จดแจ้งเหตุผลไว้ท้าย
บันทึกการแจ้งขอความร่วมมือในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี
ข้อ ๙ ในกรณีที่เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ไม่สามารถควบคุมผู้ถูกจับไว้ ณ ที่ทำการของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส.
ให้นำส่งที่ทำการของเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อฝากให้ควบคุมผู้ถูกจับไว้เป็นการชั่วคราวก่อนส่งมอบแก่
พนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดี
ให้เจ้าพนักงานตำรวจรับฝากการควบคุมผู้ถูกจับตามวรรคหนึ่งไว้ตามอำนาจของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส.
ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานตำรวจเก็บรักษายาเสพติดของกลาง หรือทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ
ความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดไว้ ตามที่ได้รับแจ้งขอความร่วมมือจากเจ้าพนักงาน ป.ป.ส.
โดยให้ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการเก็บรักษายาเสพติดของกลาง และให้ทำหลักฐานการรับมอบยาเสพติด
ของกลาง หรือทรัพย์สินนั้นให้เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ด้วย
ข้อ ๑๑ เมื่อมีการจับกุมในคดีความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด โดยพนักงานฝ่ายปกครอง
หรือตำรวจ ฐานผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย สมคบ สนับสนุน ช่วยเหลือ
หรือพยายามกระทำความผิด หรือจับได้แต่เฉพาะของกลางซึ่งเป็น
(๑) ยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ประเภท ๑ ตั้งแต่ ๒๐ กรัม
ประเภท ๒ ตั้งแต่ ๑๐๐ กรัม ประเภท ๔ หรือประเภท ๕ ตั้งแต่ ๑๐๐ กิโลกรัมขึ้นไป
(๒) วัตถุออกฤทธิ์ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. ๒๕๑๘ ประเภท ๑
หรือประเภท ๒ ซึ่งมีน้ำหนักตั้งแต่ ๑๕ กรัม หรือ ๒๐๐ เม็ดขึ้นไป
ให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนรายงานเลขาธิการ ป.ป.ส. โดยเร็วและต้องไม่เกิน ๓ วัน นับแต่วันจับกุม
คดีความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดทุกคดี ให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนรายงานเลขาธิการ ป.ป.ส.
เป็นประจำทุกเดือน
��.���.1-140.indd 76 3/4/20 4:43:46 PM