Page 333 - โครงการสำรวจจัดทำสำมะโนที่ดินเพื่อการพัฒนาที่ดิน
P. 333
ก
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การดำเนินงานในโครงการสำรวจจัดทำสำมะโนที่ดินเพื่อการพัฒนาที่ดินปีงบประมาณ
พ.ศ. 2564 ในตำบลแม่ลาน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจภาวะการถือครองที่ดิน
ของเกษตรกรอย่างละเอียดซึ่งผลของการดำเนินงานทำให้ได้ข้อมูลที่อยู่ในรูปของแผนที่เชิงเลข
และสารสนเทศภูมิศาสตร์ ประกอบด้วยรายชื่อผู้ถือครองที่ดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดินรายแปลง
ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นด้านการเกษตรที่เกษตรกรได้กระทำในพื้นที่ เช่น แหล่งน้ำที่ใช้
ด้านการเกษตร ปัญหาในการทำงานด้านการเกษตร ขนาดของแปลงที่ดินของเกษตรกร ฯลฯ
ทั้งนี้โดยใช้ฐานข้อมูลแปลงที่ดินเชิงเลขจากกรมที่ดิน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพอเกษตรกรรม ตลอดจน
ื่
ข้อมูลแผนที่กระดาษ หลักฐานการเสียภาษีของเกษตรกรที่องค์การบริหารส่วนตำบล และหน่วยงานอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้อง ที่ถูกรวบรวม และปรับให้อยู่ในระบบแผนที่เชิงเลข
สำหรับการปฏิบัติงานในพื้นที่ เจ้าหน้าที่จะทำการประสานงานกับผู้นำชุมชนในแต่ละหมู่บ้าน
เพื่อประชาสัมพันธ์การเข้าปฏิบัติงาน รวมถึงการเชิญชวนให้เกษตรกรนำหลักฐานเกี่ยวกับแปลงที่ดิน
ของตนเอง เข้ามาให้ข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์จากแบบสอบถาม และชี้แปลงที่ดินบนแผนที่ภาพถ่ายที่ได้
เตรียมมาจากสำนักงาน เพื่อเป็นข้อมูลใช้วิเคราะห์จัดทำรูปเล่มรายงานเสนอกรมฯ และหน่วยงานต่าง ๆ
ในพื้นที่ต่อไป
ู
ผลของการดำเนินงานในพื้นที่ตำบลแม่ลาน อำเภอลี้ จังหวัดลำพน เนื้อที่ 12,586 ไร่
ครอบคลุมพื้นที่ 7 หมู่บ้าน มีเขตที่ดินของรัฐ ร้อยละ 15.78 พื้นที่ทางการเกษตร ร้อยละ 70.94
และเป็นพื้นที่นอกการเกษตร เช่น ที่อยู่อาศัย สถานที่ราชการ วัด โรงเรียน เป็นต้น ร้อยละ 13.28
มีเกษตรกรเป็นเจ้าของที่ดินเอง ร้อยละ 97.54 ญาติ/เข้าทำเปล่า ร้อยละ 2.46 โดยหลักฐาน
การถือครองที่ดินส่วนใหญ่เป็นเอกสารสิทธิประเภทโฉนดที่ดินมากที่สุด ร้อยละ 68.54 รองลงมาเป็น
เอกสารสิทธิอื่นๆ (ส.ค.1, น.ส.2/น.ส.2ก. , ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ฯลฯ) ร้อยละ 26.54 สำหรับขนาด
ของสัดส่วนแปลงที่ดินส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 1-5 ไร่ ร้อยละ 46.10 รองลงมา น้อยกว่า 1 ไร่ ร้อยละ 20.25
และแปลงที่ดินที่มีขนาด 5-10 ไร่ ร้อยละ 19.56
ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน (ระดับ 3 ของกรมพัฒนาที่ดิน) พบว่า เกษตรกรปลูกลำไยมากที่สุด
ร้อยละ 70.73 รองลงมา คือ ข้าวโพด ร้อยละ 14.64 แหล่งที่มาของน้ำที่ใช้ในการเกษตร พบว่า
เกษตรกรใช้แหล่งน้ำจากน้ำฝนอย่างเดียว เป็นหลัก ร้อยละ 45.42 ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิต
มากที่สุด ๒ อันดับแรก ได้แก่ ภัยแล้ง ร้อยละ 61.15 รองลงมาเป็นราคาผลผลิตตกต่ำ ร้อยละ 49.38
การใช้ปุ๋ยพบว่า เกษตรมีการใช้ปุ๋ยเคมี/ปุ๋ยอินทรีย์มากที่สุด ร้อยละ 50.75 รองลงมา คือ ปุ๋ยเคมี
ื
ร้อยละ 29.27 ไม่ใช้ปุ๋ย ร้อยละ 18.60 และใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ร้อยละ 1.37 การใช้สารเคมีปราบโรคพชศัตรพช
ื
พบว่า เกษตรกรมีการใช้สารเคมีปราบโรคพืชศัตรูพืช ร้อยละ 83.72 และไม่ใช้สารเคมีปราบโรคพชศัตรูพช
ื
ื
ร้อยละ 16.28 ปัญหาด้านดินที่พบในพื้นที่มากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ปัญหาดินทรายจัด ร้อยละ 31.46
รองลงมาไม่มีปัญหาดิน ร้อยละ 30.78 และดินเหนียว 19.29