Page 22 - งานนำเสนอ PowerPoint
P. 22
๑๖
พร้อมทั้งส่งสิ่งของสําหรับเซี่ยง อ้อมวงไปเรื่อยๆ ร้องเพลงขี้ตู่กลางนาไป
เรื่อยๆ จักสองสามรอบกะได้ จนกว่าสิเซี่ยงสิ่งของนั้น เสร็จเรียบร้อย กะ
บอกผู้ขี้ตู่ว่า แล้วแล้ว จากนั้น ผู้ขี้ตู่ กะเงยหน้า ลุกขึ้นมา แล้วกะทายว่า
สิ่งของนั้น ผู้ได๋เอาไป หรืออยู่กับผู้ได๋ ถ้าทายถืก ผู้ที่เก็บสิ่งของนั้นไว้ กะสิ
เป็นผู้ขี้ตู่คนต่อไป ถ้าทายบ่ถืก ผู้นั้น กะป็นผู้ขี้ตู่ต่อ
กติกา : ผู้ขี้ตู่ ถ้าทายถูก กะเซาเป็นผู้ขี้ตู่ กลายเป็นคนปกติ
ผู้เซี่ยงที่ถืกจับได้ว่าเป็นผู้เอาไป กะกลายเป็นผู้ขี้ตู่แทน
การเซี่ยง ต้องเซี่ยงไว้กับโต ห้ามเอาไปเซี่ยงไว้หม่องอื่นไกลๆ
๒. ซักส้าว
การเล่นซักส้าวมีลักษณะคล้ายๆการเล่นชักเย่อ แตกต่างกันที่
การเล่นซักส้าวใช้ไม่ไผ่หรือไม้รวกยาวๆแทนเชือก คําว่าซักส้าวเป็นคํา
เรียกตามภาษาท้องถิ่นทางภาคเหนือ หมายถึง ไม้ไผ่ทั้งลําใช้สําหรับสอย
ผลไม้ โดยเรียกไม้ไผ่หรือไม้รวกที่มีขนาดเล็กแต่ลํายาวว่า ส้าว
พจนานุกรมล้านนาไทย ให้ความหมายคําว่า ส้าว ว่าหมายถึง ของสิ่งยาว
ที่ต่อจากของสิ่งใหญ่ เพื่อไปกระทบกับสิ่งอื่นที่อยู่ไกลออกไป อย่างไม้ยาว
สําหรับสอยหรือคํ้า เรียกไม้ส้าว (อุดม รุ่งเรืองศรี, ๒๕๓๔ : ๑๒๙๖) จาก
หลักฐานพบว่ามีการเล่นกันมาแล้วตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ซึ่งเป็นที่นิยมเล่นกันมาก ดังปรากฏในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน