Page 11 - สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)
P. 11

๑.๑ การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม หมายถึง กระบวนการทางสังคมที่จัดขึ้นเพื่อควบคุมสมาชิก ให้มีความสัมพันธ์กัน ภายใต้แบบแผนและกฎเกณฑ์เดียวกัน เพ่ือให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ในสังคม
บรรทัดฐานทางสังคม คือ แบบแผน กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ ในการปฏิบัติของคนใน สังคม เป็นสิ่งที่ทุกคนยอมรับ มีดังน้ี
● วิถีประชาหรือวิถีชาวบ้าน คือ แบบแผนความประพฤติที่สมาชิกปฏิบัติด้วย ความเคยชินและเป็นท่ียอมรับในสังคม ผู้ที่ละเลยไม่ปฏิบัติตามจะได้รับการติเตียนหรือนินทา เช่น การรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นควรใช้ช้อนกลาง หากไม่ใช้อาจถูกตําาหนิว่าเป็นผู้ไม่มีมารยาท
● จารีต คือ แบบแผนความประพฤติที่สมาชิกปฏิบัติโดยเคร่งครัด หากฝ่าฝืน จะถูกสังคมลงโทษหรือตําาหนิอย่างรุนแรง เช่น การท่ีลูกแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวล่วงเกินพ่อแม่ ถือเป็น การกระทําาที่ผิดจารีต ทําาให้ได้รับการประณามอย่างรุนแรงจากคนในสังคม
● กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์หรือข้อบังคับที่รัฐบัญญัติขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร โดยองค์กรทางการเมืองการปกครอง ได้รับการรับรองจากองค์กรของรัฐ หากฝ่าฝืนจะถูกลงโทษ ตามบทกฎหมาย เช่น การขับข่ีรถฝ่าสัญญาณไฟแดง เป็นการทําาผิดกฎหมาย มีโทษปรับตามท่ีกฎหมาย กําาหนด
(๒) สถานภาพ
สถานภาพ หมายถึง ตําาแหน่งของบุคคลที่สังคมกําาหนดข้ึน หรือได้รับจากการเป็น สมาชิกของสังคม เป็นปัจจัยท่ีช่วยในการจัดระเบียบของสังคม และเป็นตัวกําาหนดบุคคลให้รู้จักหน้าท่ี และความรับผิดชอบ
สถานภาพ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑. สถานภาพที่ติดตัวมาโดยสังคมเป็นผู้กําาหนด เช่น เพศ อายุ เชื้อชาติ เครือญาติ ๒. สถานภาพท่ีได้มาภายหลังโดยความสามารถ ได้แก่ การศึกษา การสมรส
การประกอบอาชีพ เช่น ครู ตําารวจ
(๓) บทบาท
บทบาท หมายถึง การปฏิบัติตามหน้าท่ีและการแสดงพฤติกรรมตามสถานภาพ เป็นตัวกําาหนดพฤติกรรมและคาดหมายให้บุคคลกระทําา เช่น นายสมชายมีสถานภาพเป็นพ่อ มีบทบาท ในการอบรมเล้ียงดูบุตร นายเจริญฤทธิ์มีสถานภาพเป็นหมอ มีบทบาทในการรักษาผู้ป่วย
๑) องค์ประกอบของการจัดระเบียบทางสังคม
(๑) บรรทัดฐานทางสังคม
สังคมของเรา 9


































































































   9   10   11   12   13