Page 14 - สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ม 3
P. 14

ใน พ.ศ. ๒๔๙๙ รัฐบาลอินเดียได้จัดงานฉลองพุทธชยันตี ๒,๕๐๐ ปีพระพุทธศาสนา และได้ฟื้นฟูส่งเสริมพระพุทธศาสนาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยได้จัดตั้งสถาบันการศึกษาขึ้นที่นาลันทา จัดให้มี การศึกษาพระพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และปรับปรุงสถานที่สําาคัญทางพระพุทธศาสนาและ ในปีเดียวกันนี้มีประชาชนวรรณะศูทรจําานวนนับล้านปฏิญาณตนนับถือพระพุทธศาสนาที่เมืองนาคปุระ แคว้นบอมเบย์ โดยการนําาของ ดร.แอมเบดการ์ ซึ่งท่านพยายามปฏิรูปสังคมอินเดียให้มีความเสมอภาค เสรีภาพ ภราดรภาพ และสันติภาพ โดยท่านได้รับอิทธิพลทางความคิดจากพระพุทธศาสนาในการ ดําาเนินการต่าง ๆ ทางสังคม
การนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย
ปัจจุบันชาวพุทธในอินเดียมีจําานวนมากขึ้น อันเนื่องมาจากมีกลุ่มบุคคลและองค์กรทาง พระพุทธศาสนาพยายามเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง ท่ีสําาคัญเช่น สําานักกรรมฐานของโกเอ็นกา ได้ตั้งศูนย์วิปัสสนานานาชาติ จัดอบรมแก่ผู้สนใจทั้งชาวอินเดียและชาวต่างชาติ นอกจากน้ียังได้ขยาย ไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก สมาคมมหาโพธิ์ได้ออกวารสารเผยแพร่หลายฉบับ และจัดตั้งโรงเรียน เช่น วิทยาลัยมหาโพธิ์ พระธรรมทูตไทยสายอินเดีย
ก่อตั้งโดยสมเด็จพระธีรญาณมุนี การดําาเนินงาน ของทา่ นประสบความสาํา เรจ็ เปน็ อยา่ งมาก จนรฐั บาล อนิ เดยี ยกยอ่ งใหเ้ปน็ พระมหาธรรมาจารย์และมอบ ปริญญาดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยนาลันทา นับเป็นพระสงฆ์ไทยรูปแรกที่ได้รับเกียรติเช่นน้ี คณะสงฆ์อินเดีย ก่อต้ังโดยพระธรรมทูตไทย และพระธรรมทูตอินเดีย และมีมติให้พระเถระ ดร.เจ กัสสปะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยนาลันทา เป็นสังฆนายกรูปแรกของพุทธสมาคม
๒) พระพุทธศาสนาในประเทศภูฏาน
วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ วัดสาํา คัญในพระพุทธศาสนา เมืองกุสินารา รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
ในราวศตวรรษที่ ๘ รชั สมยั พระเจา้ จกั กยาลโป เหลา่ เสนาอาํา มาตยไ์ ดน้ มิ นตค์ รุ ปุ ทั มสมั ภวะ (ผู้เชี่ยวชาญเรื่องตันตระและไสยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนาลันทา) มาช่วยรักษาพระเจ้าจักกยาลโป ที่ทรงประชวร พระองค์นิมนต์คุรุปัทมสัมภวะให้อยู่ที่เมืองพุมธัง แต่ท่านปฏิเสธ และขอให้รับ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจําาชาติ พระพุทธศาสนาจึงได้ประดิษฐานมั่นคงในภูฏานตั้งแต่นั้นมา
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๑๗๙๖ ลามะปาโช หรือดรุกอมชิงโป (พระลามะจากทิเบต) ได้เดินทาง มายังภูฏาน และได้ตั้งนิกายดรุกปะกัคยุ ล่วงมาถึงศตวรรษที่ ๑๗ ท่านซับดรุง งาวังนัมเยล ได้รวบรวม เมืองน้อยใหญ่เป็นปึกแผ่น จนได้ฉายาว่า ซับดรุง (หมายความว่า ผู้ที่ทุกคนต้องยอมศิโรราบให้) ท่านได้สร้างสถานที่สําาคัญไว้หลายแห่ง เช่น พูนาคาซอง
12


































































































   12   13   14   15   16