Page 14 - นาฏศิลป์ ม 4-6
P. 14

ประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์และการละครของไทย นาฏศิลป์ เป็นศิลปะแห่งการละครและฟ้อนรําา ประกอบไปด้วยศิลปะ ๓ ประการ คือ
การฟ้อนรําา การดนตรี และการขับร้อง รวมเข้าด้วยกัน
นาฏศิลป์ไทยเกิดขึ้นจากอารมณ์ ความรู้สึก และความเชื่อต่าง ๆ เช่น ความสุข หรือความทุกข์ ซึ่งสะท้อนออกมาเป็นท่าทางแบบธรรมชาติและ ประดิษฐ์ขึ้นเป็นท่าทางและลีลาการฟ้อนรําา หรือ เกิดจากลัทธิความเชื่อในการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพเจ้า โดยแสดงความเคารพบูชาด้วยการเต้นรําา ขับร้อง ฟ้อนรําา เพื่อความพึงพอใจ
นอกจากนี้นาฏศิลป์ไทยยังได้รับอิทธิพลจาก แบบแผนหรือแนวคิดของชาวต่างชาติเข้ามาผสมผสานด้วย เช่น วัฒนธรรมอินเดียเกี่ยวกับวรรณกรรม
ที่เป็นเรื่องของเทพเจ้าและตําานานการฟ้อนรําา โดยผ่านเข้าสู่ประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม คือ ผ่านชนชาติชวาและเขมร ก่อนที่จะนําามาปรับปรุงให้เป็นรูปแบบตามเอกลักษณ์ของไทย เช่น ตัวอย่าง ของเทวรูปศิวะปางนาฏราช ที่สร้างเป็นท่าการร่ายรําาของพระอิศวร ซึ่งมีทั้งหมด ๑๐๘ ท่า โดยทรงฟ้อนรําาครั้งแรกในโลก ณ เมืองมัทราส อินเดียใต้ ปัจจุบันอยู่ในรัฐทมิฬนาฑู นับเป็นคัมภีร์สําาหรับการฟ้อนรําา แต่งโดยพระภรตมุนี เรียกว่า คัมภีร์ภรตนาฏยศาสตร์ ถือเป็นอิทธิพล สําาคัญต่อแบบแผนการสืบสานและถ่ายทอดนาฏศิลป์ของไทย จนเกิด ขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่มีรูปแบบ แบบแผนการเรียน
เทวรูปศิวะปางนาฏราช
การฝึกหัด จารีต ขนบธรรมเนียม มาจนถึงปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทยได้สันนิษฐานว่า อารยธรรมทาง ศิลปะด้านนาฏศิลป์ของอินเดียนี้ได้เผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา ตามประวัติ การสร้างเทวาลัยศิวะนาฏราชที่สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๑๘๐๐ ซึ่งเป็นระยะที่ไทยเริ่มก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย จากหนังสือลักษณะไทยศิลปะการแสดงได้กล่าวว่า มีผู้รู้หลายท่านพยายามที่จะชี้ให้เห็นว่าท่ารําาต่าง ๆ มี อิทธิพลจากประเทศอินเดียเข้ามาครอบงําา หรือคนไทยได้จดจําาท่าทางต่าง ๆ ในการฟ้อนรําาของอินเดีย เอามาใช้ในการฟ้อนรําาของตนเอง และได้มีการพัฒนาท่ารําาและละครไทยมาเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน
ความรู้เพิ่มเติม
รัฐทมิฬนาฑู (อ่านว่า รัด-ทะ-มิน-นา-ดู) คือ รัฐหนึ่งที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย มีเขตแดน ทางทะเลติดต่อกับประเทศศรีลังกาและอ่าวเบงกอล เมืองหลวงของรัฐ คือ เจนไน ภาษาทมิฬเป็นภาษาประจําารัฐ
การแสดงรําาก่ิงไม้เงินทอง
12 นาฏศิลป์ ม.๔-๖


































































































   12   13   14   15   16