Page 35 - การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม "ขยะฐานศูนย์"
P. 35

บทเรียนจากคามิคัทซึ ต้นแบบเมืองปลอดขยะของญี่ปุ่น

                       คามิคัทซึ เป็นเมืองชนบทเล็กๆ ในหุบเขาที่ชื่อคามิคัทซึ อยู่ทางตอนกลางของ

               จังหวัดโทคุชิมะ บนเกาะชิโกกุ ประเทศญี่ปุ่น และได้รับการยอมรับให้เป็นต้นแบบการ

               จัดขยะโดยชุมชนที่เข้มแข็งที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

                       หมู่บ้านคามิคัทซึมีพื้นที่ทั้งหมด 109.63 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนประชากร
               ประมาณ 1,500 คน โดยเกินครึ่งเป็นผู้สูงอายุ ในอดีตเมืองคามิคัทซึมีวิธีการจัดการขยะ

               คล้ายกับชุมชนอื่นๆ ผู้คนส่วนใหญ่กำจัดขยะแบบไม่คัดแยก ใช้วิธีเผาแบบเปิดในบ่อขยะ

               ของชุมชน ซึ่งนอกจากจะอันตรายแล้วยังก่อให้เกิดปัญหามลพิษอีกด้วย

                       องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรชื่อ “Zero Waste Academy” โดยการนำของ อากิระ

               ซากาโนะ (Akira Sakano) คือเรี่ยวแรงหลักที่ชักชวนให้ชุมชนคามิคัทซึหันมาช่วยกันหา
               วิธีจัดการกับวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนให้กับชุมชน โดยตั้งเป้าว่าคามิคัทซึจะต้องเป็น

               เมืองไร้ขยะภายในปี 2020 (Kamikatsu Zero Waste 2020 Declaration) ซึ่งแนวทาง

                         ้
               ที่นำมาใชคือ ลดขยะ (Reduce) รีไซเคิล (Recycle) และการใช้ซ้ำ (Reuse) ซึ่งผลสำเร็จ
               ที่ได้มาเพราะความมีวินัย เคร่งครัด และความสามัคคีของชาวเมือง

                       เริ่มต้นแยกขยะตั้งแต่ครัวเรือน กระบวนการจัดการขยะของคามิคัทซึเริ่มต้นตั้งแต่
               ระดับครัวเรือน ทุกบ้านต้องคัดแยกขยะ และล้างให้สะอาดตั้งแต่ต้นทางก่อนนำไปส่ง

               มอบให้สถานีคัดแยกด้วยตัวเอง ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ช่วยแนะนำวิธีทิ้งให้ถูกประเภท และ

               สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินทางไปที่สถานีคัดแยกขยะได้ด้วยตัวเอง ทุก 2 เดือนทาง

               เทศบาลจะส่งเจ้าหน้าที่มารับขยะนำไปส่งที่สถานีคัดแยกให้ แม้ว่าคามิคัทซึจะเป็นเมือง

               เล็กๆ แต่คัดแยกขยะแต่ละประเภทได้มากถึง 45 ชนิด โดยแบ่งเป็น 13 ประเภทใหญ่ๆ

               เช่น โลหะ กระดาษ ผ้า ขยะจากครัว พลาสติก ขวดแก้ว ขยะอันตราย ฯลฯ ในส่วนของ

               ขยะสด เทศบาลสนับสนุนเงินบางส่วนเพื่อให้แต่ละครัวเรือนนำไปซื้อเครื่องย่อยสลาย
               ขยะอินทรีย์ขนาดเล็ก หรือถังหมักขยะเปียกทำปุ๋ยหมักเพื่อลดปริมาณขยะสดของชุมชน

               ได้แบบเบ็ดเสร็จ

                       นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับบริษัทเอกชนเจ้าของบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ใหบริษัทผู้ผลิตมา
                                                                                          ้
               รับบรรจุภัณฑ์คืนเพื่อนำไปจัดการต่อไป ปัจจุบัน การคัดแยกขยะแบบลดปริมาณขยะ

               เหลือทิ้งลงสู่บ่อฝังกลบให้เป็นศูนย์ (Zero Waste to Landfill) ของคามิคัทซึทำได้ที่
               ระดับ 80% เหลืออีก 20% ที่ต้องทิ้งลงสู่บ่อฝังกลบ ซึ่งนี่คือโจทย์ที่ชาวคามิคัทซึยังคง

               ต้องหาทางจัดการแก้ปัญหาต่อไป สร้างโอกาส สร้างอาชีพ ต่อยอดจากขยะ นอกจาก

               การจัดการปัญหาขยะแล้ว เมืองคามิคัทซึยังมีแนวคิดในการต่อยอดจากขยะสู่การเปิด

               ร้าน Kuru-Kuru Upcycling Craft Center ที่เหล่าแม่บ้านในชุมชนช่วยกันนำเอา








                                                                                                             31
   30   31   32   33   34   35   36   37