Page 7 - 2.รวมไฟล์คู่มือใส่โครงสร้างไม่มีรายชื่อ
P. 7
๔
ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ นายสมมาตร ทิพโยธิน ดำรงตำแหน่งครูใหญ่สร้างอาคารเรียน แบบ ป.๑ ก.๖
ห้องเรียน (แยกสร้างเป็น ๒ หลัง) โดยงบประมาณของกระทรวงมหาดไทย เป็นเงิน ๑๙๕,๐๐๐ บาทสร้างส้วม
๑ หลัง ๕ ที่นั่ง ด้วยงบประมาณองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต เป็นเงิน ๑๒,๐๐๐ บาท และสร้างโรงอาหาร
ห้องประชุมด้วยเงินบริจาคจากการรำวง เป็นเงิน ๒๕,๕๐๐ บาท
ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตสร้างโรงฝึกงานแบบ
๓๑๓ เอ เป็นเงิน ๗๐,๐๐๐ บาท
ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้ขยายการศึกษาภาคบังคบชั้น ป.๗ โดยมี นายสมนึก เกษมภัทรา ดำรงตำแหน่ง
ั
ครูใหญ่ ขณะนั้นมีนักเรียนประมาณ ๔๐๐ กว่าคน ครู ๓๕ คน มีอาคารเรียนแบบ ๐๐๔ (๒ ชั้น ๘ ห้อง)
๑ หลัง อาคารเรียนแบบ ป.๑ ก (ชั้นเดียว ๓ ห้อง) ๒ หลัง อาคารแบบ ป.๑ ก.๖ ห้อง ๑ หลัง โรงฝึกงานแบบ
๓๑๓ เอ และโรงอาหารแบบ ๓๑๒ แบบละ ๑ หลัง ส้วม ๕ ที่นั่ง ๑ หลัง
ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ นางสาวประเทียบ สุขหวาน ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ บริษัทบ่านหงวนตินไมนิ่งจำกัด โดยนายบันลือ ตันติวิท เป็นผู้จัดการได้ขอแลกเปลี่ยน
ที่ดินกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตโดยจัดสร้างอาคารเรียนแบบ ๐๑๕ (๒ ชั้น ๑๖ ห้องเรียน) โรงฝึกงาน
แบบ ๓๑๓ เอ และ โรงอาหารแบบ ๓๑๒ แบบละ ๑ หลัง ส้วม ๕ ที่นั่ง ๒ หลัง บ้านพักครูแบบกรมสามญ
ั
๔ หลัง พร้อมติดตั้งไฟฟ้า น้ำประปาของอาคารทั้งหมด รวมที่ดิน ๓๐ ไร่ มีการย้ายวัสดุครุภัณฑ์ และนักเรียน
มาที่โรงเรียนในปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๑๘
ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนชุมชน และเมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๑๘ ได้ทำพธีเปิด
ิ
ป้ายโรงเรียนแห่งใหม่นี้ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตนายสุนัยราช ภัณฑารักษ เป็นประธาน
์
นายวีระชัย แนวบุญเนียร นายอำเภอกะทู้ กล่าวรายงานความเป็นมาของการสร้างโรงเร ียน
และการแลกเปลี่ยนที่ดนพร้อมผู้นำชุมชน ชาวบ้าน แขกผู้มีเกียรติ ขณะนั้นนายไตรรัตน์ พุทธิปิลันธน์ เป็น
ิ
หัวหน้าส่วนการศึกษาจังหวัดภูเก็ต นายรุ่ง แสงรุ่งรวี เป็นหัวหน้าหมวดการศึกษาอำเภอกะทู้
นางสาวประเทียบ สุขหวาน เป็นครูใหญ่
ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบ โครงการรุ่งอรุณ ระดับประถมศกษา
ึ
็
ของจังหวัดภูเกต ซึ่งเป็นโครงการที่เน้นการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ เพื่อให้เกิดจิตสำนึกในการ
อนุรักษ์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม คณะครู – นักเรียน ได้รับการอบรม สัมมนา และศึกษาแหล่งเรียนรู้หลาย ๆ
รูปแบบ หลายสถานที่รวมทั้งได้รับงบประมาณในการดำเนินโครงการต่างๆรวม ๓ ปี คือ ปีการศึกษา ๒๕๔๒-
๒๕๔๔ โดยการสนับสนุนจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาต ิ
ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับการคัดเลือกจากสมาคมสร้างสรรค์ไทยให้ดำเนินการอนุรักษ์พลังงาน
และสิ่งแวดล้อมในโครงการรุ่งอรุณ ระยะ ๒ จัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการ การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
ทุกกลุ่มสาระ และไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ในสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษพลังงาน
์
ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ นายสายัณห์ องค์บริรักษ์กุล เป็นผู้บริหารต้นแบบพร้อมด้วยคณะครู มีนางสาวเย็นตา
ขวัญนาค นายแฉล้ม วัชรีบริรักษ์ เป็นครูต้นแบบภาษาไทย นางทัศนา ประดิษฐ์เสรีเป็นครูต้นแบบ
ภาษาต่างประเทศ และนางวรรณภา รตะเสรี เป็นครูต้นแบบคณิตศาสตร์ นอกจากนี้ในปีเดียวกันนายสายัณห์
องค์บริรักษ์กุลได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกะทู้