Page 59 - คมอนกเรยนและผปกครอง โรงเรยนเทศบาล ๒บานกะท_Neat
P. 59

๕๖

                          ๓) ผู้สอนมีการประเมินก่อนเรียน ระหว่างเรียน และประเมินหลังเรียน เป็นการประเมินที่มุ่ง
               ตรวจสอบการพัฒนาการของผู้เรียนว่าบรรลุตัวชี้วัดหรือไม่ เพื่อนำสารสนเทศทได้ไปปรับปรุง ข้อบกพร่องของ
                                                                                ี่
               ผู้เรียนและส่งเสริมผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถ และเกิดการพัฒนาการสูงสุดตามศักยภาพ
                          ๔) การประเมินระหว่างเรียน เป็นการประเมินผู้เรียนในเรื่องที่ได้เรียนจบแล้วเพื่อตรวจสอบว่า
               ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามตัวชี้วัด
                          ๕) การประเมินผลการเรียนปลายปีเป็นการประเมินผลเพื่อตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในการ

               เรียนรู้ตามตัวชี้วัด
                     ข้อ ๘  การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน เป็นการประเมินศักยภาพของผู้เรียนในการอ่าน
               หนังสือ เอกสารและสื่อต่างๆเพื่อหาความรู้ เพิ่มพูนประสบการณ์ ความสุนทรีและประยุกต์ใช้ แล้วนำเนื้อหา
               สาระที่อ่านมาคิดวิเคราะห์ นำไปสู่การแสดงความคิดเห็น การสังเคราะห์ สร้างสรรค์ การแก้ปัญหาในเรื่องต่างๆ

               และถ่ายทอด ความคิดนั้นด้วยการเขียนที่มีสำนวนภาษาถูกต้องมีเหตุผลและลำดับขั้นตอนการนำเสนอสามารถ
               สร้างความเข้าใจแก่ผู้อ่านได้อย่างชัดเจนตามระดับ ความสามารถในแต่ละระดับชั้น ดังนี้
                        ๑. หลักการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
                              (๑) เป็นการประเมินเพื่อ การปรับปรุงพัฒนาผู้เรียนและประเมินเพื่อการตัดสินการเลื่อนชั้น

               และจบการศึกษาระดับประถมศึกษา
                              (2) ใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย
                              (๓) กำหนดภาระงานให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติควรสอดคล้องกับขอบเขตและประเด็นการประเมิน

                              (๔) ใช้รูปแบบ วิธีการประเมินและเกณฑ์การประเมิน ที่ได้จากการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง
                              (๕) การสรุปผลการประเมินเพื่อรายงานเน้นการรายงานคุณภาพของความสามารถในการ
               อ่านคิดวิเคราะห์และเขียนเป็น 4 ระดับคือ ดีเยี่ยม ดี ผ่าน และไม่ผ่าน
                        ๒. ขอบเขตการประเมิน และตัวชี้วัดที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน
               แบ่งเป็นระดับชั้นได้ดังนี้

                                                                                       ์
                                                                                    ิ
                          ๑) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๓ ขอบเขตการประเมิน การอ่านจากสื่อสิ่งพมพและ/ หรือสื่อประเภท
               ต่างๆที่ให้ความเพลิดเพลิน ความรู้ ประสบการณ์ มีประเด็นให้คิดและเขียนบรรยายถ่ายทอดประเด็นที่คิดด้วย
               ภาษาที่ถูกต้องเหมาะสม เช่น อ่านสาระความรู้ที่นำเสนออย่างสนใจ นิยายเรื่องสั้น นิทาน นิยายปรัมปรา โดย

               มีตัวชี้วัดความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนดังนี้
                              (๑) สามารถอ่านและหาประสบการณ์จากสื่อที่หลากหลาย
                              (2) สามารถจับประเด็นสำคัญ ข้อเท็จจริง ความคิดเห็นเรื่องที่อ่าน
                              (๓) สามารถเปรียบเทียบแง่มุมต่างๆ เช่น ข้อดี ข้อเสีย ประโยชน์ โทษ ความเหมาะสมไม่เหมาะสม

                              (๔) สามารถแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่อ่าน โดยมีเหตุผลประกอบ
                              (๕) สามารถถ่ายทอดความคิดเห็นความรู้สึกจากเรื่องที่อ่านโดยการเขียน
                          ๒) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ ขอบเขตการประเมิน การอ่านจากสื่อสิ่งพิมพ์ และ/หรือ
               สื่อประเภทต่างๆ ที่ให้ข้อมูลสารสนเทศ ความรู้ ประสบการณ์ ที่เอื้อให้ผู้อ่านนำไปคิดวิเคราะห์ แสดงความ

               คิดเห็น ตัดสินใจ แก้ปัญหาและถ่ายทอดด้วยการเขียนเป็นความเรียงเชิงสร้างสรรค์ด้วยถ้อยคำภาษาที่ชัดเจน
               เช่น อ่านหนังสือพิมพ์ วารสาร หนังสือเรียน บทความสุนทรพจน์ คำแนะนำ คำเตือนโดยมีตัวชี้วัด
               ความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64