Page 7 - คมอนกเรยนและผปกครอง โรงเรยนเทศบาล ๒บานกะท_Neat
P. 7

๔

                       ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ นายสมมาตร  ทิพโยธิน ดำรงตำแหน่งครูใหญ่สร้างอาคารเรียน แบบ ป.๑ ก.๖
               ห้องเรียน (แยกสร้างเป็น ๒ หลัง) โดยงบประมาณของกระทรวงมหาดไทย เป็นเงิน ๑๙๕,๐๐๐ บาทสร้างส้วม

               ๑ หลัง ๕ ที่นั่ง ด้วยงบประมาณองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต เป็นเงิน ๑๒,๐๐๐ บาท และสร้างโรงอาหาร
               ห้องประชุมด้วยเงินบริจาคจากการรำวง เป็นเงิน ๒๕,๕๐๐ บาท

                       ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตสร้างโรงฝึกงานแบบ
               ๓๑๓ เอ เป็นเงิน ๗๐,๐๐๐ บาท

                       ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้ขยายการศึกษาภาคบังคับชั้น ป.๗ โดยมี นายสมนึก  เกษมภัทรา ดำรงตำแหน่ง
               ครูใหญ่ ขณะนั้นมีนักเรียนประมาณ ๔๐๐ กว่าคน ครู ๓๕ คน มีอาคารเรียนแบบ ๐๐๔ (๒ ชั้น ๘ ห้อง)

               ๑ หลัง อาคารเรียนแบบ ป.๑ ก (ชั้นเดียว ๓ ห้อง) ๒ หลัง อาคารแบบ ป.๑ ก.๖ ห้อง ๑ หลัง โรงฝึกงานแบบ
               ๓๑๓ เอ และโรงอาหารแบบ ๓๑๒ แบบละ ๑ หลัง ส้วม ๕ ที่นั่ง ๑ หลัง

                       ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ นางสาวประเทียบ  สุขหวาน ดำรงตำแหน่งครูใหญ่

                       ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ บริษัทบ่านหงวนตินไมนิ่งจำกัด โดยนายบันลือ ตันติวิท เป็นผู้จัดการได้ขอแลกเปลี่ยน

               ที่ดินกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตโดยจัดสร้างอาคารเรียนแบบ ๐๑๕ (๒ ชั้น ๑๖ ห้องเรียน) โรงฝึกงาน
               แบบ ๓๑๓ เอ และ โรงอาหารแบบ ๓๑๒ แบบละ ๑ หลัง ส้วม ๕ ที่นั่ง  ๒ หลัง บ้านพักครูแบบกรมสามัญ
                                                                                              ์
               ๔ หลัง พร้อมติดตั้งไฟฟ้า น้ำประปาของอาคารทั้งหมด รวมที่ดิน ๓๐ ไร่  มีการย้ายวัสดุครุภัณฑ และนักเรียน
               มาที่โรงเรียนในปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๑๘

                       ปี พ.ศ. ๒๕๑๘  ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนชุมชน และเมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๑๘ ได้ทำพิธีเปิด

               ป้ายโรงเรียนแห่งใหม่นี้ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตนายสุนัยราช ภัณฑารักษ์ เป็นประธาน
               นายวีระชัย  แนวบุญเนียร นายอำเภอกะทู้ กล่าวรายงานความเป็นมาของการสร้างโรงเรียน
               และการแลกเปลี่ยนที่ดินพร้อมผู้นำชุมชน ชาวบ้าน แขกผู้มีเกียรติ ขณะนั้นนายไตรรัตน์ พุทธิปิลันธน์ เป็น
               หัวหน้าส่วนการศึกษาจังหวัดภูเก็ต นายรุ่ง แสงรุ่งรวี เป็นหัวหน้าหมวดการศึกษาอำเภอกะทู้
               นางสาวประเทียบ   สุขหวาน เป็นครูใหญ่


                       ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบ  โครงการรุ่งอรุณ ระดับประถมศึกษา
               ของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นโครงการที่เน้นการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ เพื่อให้เกิดจิตสำนึกในการ
               อนุรักษ์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม คณะครู – นักเรียน ได้รับการอบรม สัมมนา  และศึกษาแหล่งเรียนรู้หลาย ๆ
               รูปแบบ หลายสถานที่รวมทั้งได้รับงบประมาณในการดำเนินโครงการต่างๆรวม ๓ ปี คือ ปีการศึกษา ๒๕๔๒-

               ๒๕๔๔ โดยการสนับสนุนจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ

                       ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับการคัดเลือกจากสมาคมสร้างสรรค์ไทยให้ดำเนินการอนุรักษ์พลังงาน
               และสิ่งแวดล้อมในโครงการรุ่งอรุณ ระยะ ๒ จัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการ การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
               ทุกกลุ่มสาระ และไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ในสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงาน

                       ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ นายสายัณห์ องค์บริรักษ์กุล เป็นผู้บริหารต้นแบบพร้อมด้วยคณะครู มีนางสาวเย็นตา
               ขวัญนาค นายแฉล้ม วัชรีบริรักษ์ เป็นครูต้นแบบภาษาไทย นางทัศนา ประดิษฐ์เสรีเป็นครูต้นแบบ

               ภาษาต่างประเทศ และนางวรรณภา รตะเสรี เป็นครูต้นแบบคณิตศาสตร์ นอกจากนี้ในปีเดียวกันนายสายัณห์
               องค์บริรักษ์กุลได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกะทู้
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12