Page 71 - คมอนกเรยนและผปกครอง โรงเรยนเทศบาล ๒บานกะท_Neat
P. 71

๖๘

               ระหว่างเรียนกับคะแนนปลายภาค ๘๐ : ๒๐  (การกำหนดสัดส่วนคะแนนระหว่างเรียนกับปลายปีขึ้นอยู่กับ
               สถานศึกษากำหนด  เช่น  ๖๐ : ๔๐, ๗๐ : ๓๐, ๘๐ : ๒๐)

                                  ๓)  ผู้สอนมีการประเมินก่อนเรียน  ระหว่างเรียน  และประเมินหลังเรียนเป็นการ
               ประเมินที่มุ่งตรวจสอบการพัฒนาการของผู้เรียนว่าบรรลุตัวชี้วัดหรือไม่  เพื่อนำสารสนเทศที่ได้ไปปรับปรุง
               ข้อบกพร่องของผู้เรียน  และส่งเสริมผู้เรียนให้มีความรู้  ความสามารถ  และเกิดพัฒนาการสูงสุดตามศักยภาพ
                                  ๔)  การประเมินระหว่างเรียน เป็นการประเมินผู้เรียนในเรื่องที่ได้เรียนจบแล้ว เพอ
                                                                                                        ื่
               ตรวจสอบว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามตัวชี้วัดหรือไม่
                                  ๕) การประเมินผลการเรียนปลายภาค เป็นการประเมินผลเพื่อตรวจสอบผลสัมฤทธิ์
               ของผู้เรียนในการเรียนรู้ตามตัวชี้วัด
                       ข้อ ๘   การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์  และเขียน  เป็นการประเมินศักยภาพของผู้เรียนในการ

               อ่านหนังสือ  เอกสารและสื่อต่าง ๆ เพื่อหาความรู้  เพิ่มพูนประสบการณ์ ความสุนทรี และประยุกต์ใช้ แล้วนำ
               เนื้อหาสาระที่อ่านมาคิดวิเคราะห์  นำไปสู่การแสดงความคิดเห็น  การสังเคราะห์ สร้างสรรค์การแก้ปัญหา
               ในเรื่องต่างๆ  และถ่ายทอดความคิดนั้นด้วยการเขียนที่มีสำนวนภาษาถูกต้อง  มีเหตุผลและลำดับขั้นตอนการ
               นำเสนอ  สามารถสร้างความเข้าใจแก่ผู้อ่านได้อย่างชัดเจนตามระดับความสามารถในแต่ละระดับชั้น

                              ๑.  หลักการประเมินการอ่าน  คิดวิเคราะห์  และเขียน
                                  ๑)  เป็นการประเมินเพื่อการปรับปรุงพัฒนาผู้เรียน  และประเมินเพื่อการตัดสินการ
               เลื่อนชั้นและจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

                                  ๒)  ใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย
                                  ๓)  กำหนดภาระงานให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติควรสอดคล้องกับขอบเขตและประเด็นการ
               ประเมิน
                                  ๔)  ใช้รูปแบบ  วิธีการประเมินและเกณฑ์การประเมินที่ได้จากการมีส่วนร่วมของ
               ผู้เกี่ยวข้อง

                              ๒.  ขอบเขตการประเมิน เป็นการอ่านจากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ข้อมูล
               สารสนเทศ  ข้อคิด  ความรู้เกี่ยวกับสังคม และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้ผู้อ่านนำไปคิดวิเคราะห์  วิจารณ์สรุป
               แนวคิดคุณค่าที่ได้  นำไปประยุกต์ใช้ด้วยวิจารณญาณ และถ่ายทอดเป็นข้อเขียนเชิงสร้างสรรค์หรือรายงาน

                                                        ิ
               ด้วยภาษาที่ถูกต้องเหมาะสม  เช่น  อ่านหนังสือพมพ์ วารสาร หนังสือเรียน บทความ  สุนทรพจน์  คำแนะนำ
               คำเตือน  แผนภูมิ  ตาราง  แผนที่
                              ๓.  ตัวชี้วัดที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน  คิดวิเคราะห์และเขียน มีดังนี้
                                  ๑)  สามารถคัดสรรสื่อ ที่ต้องการอ่านเพื่อหาข้อมูลสารสนเทศได้ตามวัตถุประสงค์

               สามารถสร้างความเข้าใจและประยุกต์ใช้ความรู้จากการอ่าน
                                  ๒) สามารถจับประเด็นสำคัญและประเด็นสนับสนุน โต้แย้ง
                                  ๓) สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์ ความสมเหตุสมผล ความน่าเชื่อถือ ลำดับความและ
               ความเป็นไปได้ของเรื่องที่อ่าน

                                  ๔) สามารถสรุปคุณค่า แนวคิด แง่คิดที่ได้จากการอ่าน
                                  ๕) สามารถสรุป อภิปราย ขยายความแสดงความคิดเห็น โต้แย้ง  สนับสนุน  โน้มน้าว
               โดยการเขียนสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ผังความคิด เป็นต้น
                              ๔.  กำหนดให้มีการพัฒนาและประเมินการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนตามกระบวนการดังนี้
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76