Page 2 - เรื่องที่ ๑๔-๒๕๖๔ ระบบกล่าวหาและระบบไต่สวน2
P. 2

๒





                                เดิมทีเดียวผู้พิพากษาที่ตัดสินคดีในระบบกล่าวหาไม่ใช่ผู้พิพากษาอาชีพที่เป็นองค์กรของรัฐ
                                                                                              ู่
                                                                                    ั
                  แต่เป็นบุคคลธรรมดาที่คู่ความมอบอำนาจให้ทำหน้าที่ผู้พิพากษา เพื่อชี้ขาดข้อขดแย้งของคความซึ่งเป็นที่มา
                  ของคณะลูกขุน
                                ระบบกล่าวหายังเป็นระบบที่วางหลักการให้คู่ความในคดีมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน
                  อย่างไรก็ตาม หลักการนี้อาจไม่เป็นผล เมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอยู่ในสถานะที่เหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่งเนื่องจาก
                  ฐานะทางสังคม อำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจ หรือความรู้ทางด้านเทคนิค เป็นต้น นอกจากนี้ ระบบกล่าวหาเป็น
                  ระบบที่มีการกำหนดรูปแบบของพยานหลักฐานเป็นจำนวนมาก (un grand formalisme des preuves)
                                                                          ๒
                  ซึ่งจะเห็นได้จากการกำหนดให้มีระบบพยานหลักฐานโดยกฎหมายไว
                                                                          ้
                                                                                                       ั้
                                 นอกจากนี้ ระบบกล่าวหาในคดีอาญาเป็นระบบวิธีพิจารณาคดีที่มีการดำเนินคดีเพียงขนตอน
                  เดียว คือ ในชั้นพิจารณาพิพากษาคดีเท่านั้น ผู้พิพากษาจะไม่มีบทบาทเชงรุกและจะวางตัวเป็นกลาง (passif
                                                                               ิ
                  et neurte) โดยจะทำหน้าที่เป็นกรรมการตัดสินชี้ขาดข้อขัดแย้งภายใต้หลักเกณฑ์ที่คู่ความทั้ง ๒ ฝ่าย มีสิทธ ิ

                  เท่าเทียมกัน ผู้พิพากษาตัดสินคดีโดยใช้ดุลพินิจพิจารณาจากพยานหลักฐานตามที่คู่ความเสนอ โดยหน้าที่ใน
                  การแสวงหาขอเท็จจริงและพยานหลักฐานเข้ามาพิสูจน์ความจริงในคดีเป็นหน้าที่ของค่ความ ซึ่งผู้พิพากษาจะไม่
                              ้
                                                                                        ู
                  เข้าไปยุ่งเกี่ยวในการแสวงหาพยานหลักฐานในคดี และไม่มีขั้นตอนที่ให้อำนาจศาลในการไต่สวนหา
                  พยานหลักฐานในคดี

                                ๑.๒ ลักษณะสำคัญของระบบกล่าวหาที่มีผลต่อบทบาทของคู่ความและศาล
                                ระบบกล่าวหาเป็นระบบวิธีพิจารณาคดีที่สอดคล้องกับหลักความประสงค์ของคู่ความ
                  (le principe dispositive หรือ The Principal of Party Disposition) ภายใต้ระบบกล่าวหาขอบเขตของคดี
                  และเนื้อหาของคดีเป็นไปตามความประสงค์ของคู่ความ (nemo judex sine actore ; ne eat judex ultra

                                                ู่
                  petita et allegata a partibus) คความจะเป็นผู้กำหนดข้อเท็จจริงและเนื้อหาแห่งคดี เป็นผู้กำหนดทิศทาง
                  และความเป็นไปของกระบวนพิจารณา
                                ระบบกล่าวหาจึงเป็นระบบวิธีพิจารณาคดีที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของคู่ความในคดี คู่ความ
                  จะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการริเริ่มคดี การดำเนินกระบวนพิจารณาคดี และในการแสวงหาพยานหลักฐาน

                  ผู้พิพากษาจะวางตัวในฐานะเป็นคนกลาง คอยควบคุมดูแลให้คู่ความทั้ง ๒ ฝ่ายปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ว่าด้วย
                  วิธีพิจารณาความที่กำหนดไว้ ศาลจะต้องถกจำกัดกรอบให้พิจารณาเฉพาะสิ่งที่ค่ความนำเสนอต่อศาลเท่านั้น
                                                                                     ู
                                                      ู
                                                                             ๓
                  ไม่มีอำนาจแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมด้วยตนเองได้
                                นอกจากนี้ ระบบกล่าวหาเป็นระบบที่กำหนดระบบพยานหลักฐานโดยกฎหมาย (système de
                  preuves légales) ขึ้นมาใช้บังคับ ซึ่งระบบพยานหลักฐานโดยกฎหมายนี้ทำให้ผู้พิพากษาถกจำกัดอำนาจและ
                                                                                             ู
                  บทบาทในการใช้ดุลพินิจพิจารณาพยานหลักฐานด้วยตนเอง
                                ระบบกล่าวหายังเป็นระบบวิธีพิจารณาคดีที่ต้องการคุ้มครองสิทธิของคู่ความในคดีให้ได้
                  อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากคู่ความในคดีจะมีบทบาทหลักในการริเริ่มคดี การดำเนินคดี และการแสวงหา

                  ข้อเท็จจริงในคดี และมีสิทธิที่จะโต้แย้งต่อสู้คดีเช่นเดียวกับผู้ที่กล่าวหาตน
                                ระบบกล่าวหาได้รับการยอมรับแต่ดั้งเดิมว่าเป็นระบบวิธีพิจารณาคดีที่คุ้มครองสิทธิของ
                  ผู้ถูกดำเนินคดีอย่างมาก เนื่องจากการพิจารณาคดีที่กระทำโดยเปิดเผย คู่ความในคดีสามารถโต้แย้งคดคานได้
                                                                                                        ้
                                                                                                     ั
                  และการที่ผู้พิพากษาไม่มีบทบาทเชิงรุกในคดี ทำให้สิทธิของคู่ความในคดีได้รับการคุ้มครอง




                                                                e
                  ๒  Corinne RENAULT-BRAHINSKY, Procédure Pénale, 18  édition (Gualino, 2017-2018), p. 25.
                  ๓  วรรณชัย บุญบำรุง, ธนกฤต วรธนัชชากุล, สิริพันธ์ พลรบ, เรื่องเดิม, หน้า ๗๒ - ๗๘.
   1   2   3   4   5   6   7