Page 30 - CPS Report 2564
P. 30
❖ การกระจายมังคุดจากภาคใต้ โดยเครือข่ายสหกรณ์
ด้วยในปี พ.ศ. 2564 เกษตรกรชาวสวนผลไม้ในภาคใต้ ได้ประสบปัญหาด้านช่องทางการจำหน่ายมังคุด
และเงาะ เนื่องจากในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม เป็นฤดูกาลที่ผลผลิตในภาคใต้ออกมาพร้อมกัน จนเกิด
การกระจุกตัวและราคาตกต่ำ ประกอบกับปีนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 มีการล๊อกดาวน์
พ่อค้าไม่สามารถเข้าไปตั้งล้งเพื่อรับซื้อมังคุดจากเกษตรกรได้ ทำให้เกษตรกรชาวสวนได้รับความเดือดร้อน
ดังนั้น ศูนย์กระจายสินค้าสหกรณ์จังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับเครือข่ายร้านซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์ 4 แห่ง และ
เครือข่ายสถาบันเกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษ นำผลผลิตมังคุดจากสหกรณ์ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็น
มังคุดที่ผลิตโดยสมาชิกสหกรณ์ เป็นมังคุดที่มีคุณภาพ เนื้อแน่น รสชาติหวาน ได้รับการรับรอง
ื่
มาตรฐาน GAP บรรจุในตะกร้าที่มีความแข็งแรง มากระจายผลผลิตสู่ผู้บริโภคในจังหวัดศรีสะเกษ เพอเป็นการ
ช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์ผู้ปลูกมังคุด ที่ได้รับผลกระทบจากโรคไวรัสโคโรน่า-19 จึงทำให้ไม่สามารถกระจาย
ผลผลิตสู่ตลาดได้ตามปกติ ทำให้มังคุดราคาตกต่ำ ในรอบแรกของการกระจายมังคุดได้รับความอนุเคราะห์จาก
หน่วยงานภาครัฐ เครือข่ายสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร และผู้บริโภคในจังหวัดศรีสะเกษ ที่สนใจสั่งจองผ่านช่องทาง
ศูนย์กระจายสินค้าสหกรณ์จังหวัดศรีสะเกษ และผ่านเครือข่ายสหกรณ์ในจังหวัดศรีสะเกษ มากถึง
จำนวน 7,000 กิโลกรัม ศูนย์กระจายสินค้าสหกรณ์จังหวัดศรีสะเกษ นำมาจำหน่ายในราคา 270 บาท/
ตะกร้า ขนาดบรรจุ 10 กิโลกรัม/ตะกร้า หรือราคา 27 บาท/กิโลกรัม
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดศรีสะเกษ ได้ติดตามการกระจายมังคุดจากสหกรณ์ในจังหวัด
นครศรีธรรมราช ในรอบแรกของการกระจายมังคุดได้รับความสนใจจากผู้บริโภคในจังหวัดศรีสะเกษเป็นจำนวน
ื่
ึ
มาก เนื่องจากมังคุดที่นำมาจำหน่ายทางสหกรณ์ต้นทางได้คัดคุณภาพมาเป็นพเศษ เพอความพงพอใจของ
ิ
ผู้บริโภค ผ่านศูนย์กระจายสินค้าสหกรณ์และเครือข่ายสหกรณ์ในจังหวัดศรีสะเกษ มังคุดที่สหกรณ์นำมาจำหน่ายมี
ื่
ราคาต่ำกว่าที่จำหน่ายในตลาดจังหวัดศรีสะเกษ เพอช่วยกระจายสินค้าเกษตรออกนอกแหล่งผลิตในสถานการณ์
โรคไวรัสโคโรน่า-19 และสหกรณ์ไม่ได้คิดผลกำไรที่เกินควร มีการขนส่งที่ได้มาตรฐาน ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่า ซื้อ
มังคุดจากสหกรณ์ท่านจะได้ทั้งคุณภาพ ทั้งปริมาณ และราคาที่ยุติธรรม การกระจายมังคุดในครั้งนี้ ศูนย์กระจาย
สินค้าสหกรณ์จังหวัดศรีสะเกษ กำหนดจุดการกระจายสินค้าออกเป็น 4 จุด คือ ร้านค้าซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์
การเกษตรเมืองศรีสะเกษ จำกัด ร้านค้าซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์การเกษตรพยุห์ จำกัด ร้านค้าซูเปอร์มาร์เก็ต
ื่
สหกรณ์การเกษตรปรางค์กู่ จำกัด และร้านค้าซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์การเกษตรภูสิงห์ จำกัด เพออำนวยความ
สะดวกผู้บริโภคให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด และเมื่อผู้บริโภคเกิดความประทับใจในคุณภาพมังคุดและคุณภาพการ
บริการ ทำให้ร้านค้าซูเปอร์มาร์เก็ตในจังหวัดศรีสะเกษ มีการสั่งมังคุดมาจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการ
เชื่อมโยงมังคุดใต้แลกข้าวสารของจังหวัดศรีสะเกษอีกด้วย
Template รายงานผลการแนะนำส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 23 | ห น้ า
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562ร