Page 191 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม
P. 191
ความเข้าใจเร่ืองอิริยาบถย่อย
ณ วัดบางไผ่ พระอารามหลวง จ.นนทบุรี วันท่ี ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙
อิริยาบถย่อยก็คืออาการต่าง ๆ นอกจากอิริยาบถหลัก นอกจากการเดิน การยืน การนั่ง การนอน แล้วกิริยาอาการของเรามีอะไรอีก ? หยิบ จับ เคลื่อนไหว กิน ดื่ม ทา พูด คิด เหยียด คู้ ยก หันซ้าย หัน ขวา กระพริบตา อ้าปาก อันน้ีเขาเรียกว่า “อาการของอิริยาบถย่อย” ท่ีจริงอิริยาบถย่อยคือ อาการเล็ก ๆ น้อย ๆ ของร่างกาย การเคลื่อนไหวร่างกายของเรา แม้แต่กระพริบตา แม้แต่อ้าปาก... เราอ้าปากตอนไหน บ้าง ? ตอนพูดน่ีเยอะนะ สังเกตไหมว่า ก่อนท่ีเราขยับปากแต่ละครั้ง จิตเขาส่ังก่อนไหม ? “ต้นจิต” กับ “อิริยาบถย่อย” อาศัยกันแล้วจะกาหนดได้ดี
การกาหนดอารมณ์ในอิริยาบถย่อย สิ่งที่ต้องสังเกต - สภาพจิต ต้นจิต แล้วก็อิริยาบถย่อย สภาพ จิตเป็นอย่างไร ? สภาพจิตก็คือจิตใจเรานั่นแหละ อย่างท่ีเรานั่งอยู่ตอนนี้ สภาพจิตใจเป็นอย่างไร ? (โยคี กราบเรียนว่า โล่ง ๆ) ตรงนี้คืออยากให้รู้ ที่ถามนี่ไม่ใช่ว่าทาไม่ได้ แต่อยากให้เข้าใจว่าคาว่า “สภาพจิตใจ” เราเรียกอาการประมาณไหน ตรงไหนถึงเรียกว่าสภาพจิต สภาพจิตรู้สึกสงบ รู้สึกว่าง รู้สึกโล่ง รู้สึกโปร่ง รู้สึกเบา รู้สึกขุ่นมัว รู้สึกทุกข์ รู้สึกอึดอัด ตรงนี้คือลักษณะของสภาพจิต
ทีนี้ สภาพจิตประเภทไหน สภาพจิตอย่างไร จะทาให้เรากาหนดอิริยาบถย่อยได้ดี หรือจะกาหนด ต้นจิตได้ง่าย ? ถ้าสภาพจิตเราไม่ว่างมีแต่ความทุกข์ มีแต่ความหนัก มีแต่ความขุ่นมัว มีแต่ความเศร้า หมอง เราจะกาหนดไม่ทันอิริยาบถของเรา สังเกตไหม ถ้าเราเกิดความรู้สึกขัดเคืองขุ่นมัว เราจะไม่สนใจ อิริยาบถย่อยของเราหรอก เพราะอารมณ์มันพาไป มันจะทาไปก่อนแล้วค่อยคิด ทาไปก่อนแล้วค่อยรู้ตัว ก็เลยกลายเป็นว่าทาไปโดยที่ไม่มีสติ โดยที่ไม่รู้ตัว
การสังเกตอิริยาบถย่อย อย่างหนึ่งคือกาหนดให้รู้ทันอาการเคล่ือนไหวของอิริยาบถย่อยของเราใน แต่ละครั้ง ก่อนที่จะหยิบ ก่อนที่จะจับ ก่อนที่จะพูด ก่อนที่จะเคลื่อนไหว ให้รู้สึกก่อน รู้สึกทัน! จริง ๆ ถ้า รู้สึกทันอาการตรงนี้ มีสติรู้ทัน รู้ทัน จะเป็นการกาหนดอิริยาบถย่อยได้ปัจจุบัน กาหนดได้ปัจจุบันแบบนี้ รู้ถึงอาการเคลื่อนไป ขยับ หยิบ จับ ยก วาง กระพริบตา อ้าปาก... ย่ิงรู้อยู่กับอารมณ์ปัจจุบันมากเท่าไหร่
123