Page 391 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม
P. 391
323
ถ้าไม่มีแล้วรู้สึกเป็นไง ? ยิ่งดูเข้าไป ยิ่งรู้สึกว่างขึ้น สงบมากขึ้น พอสงบมากขึ้น สังเกตต่ออีกนิด หนึ่งว่า จิตที่ว่างเบา พอเขาแยก(เป็นคนละส่วน)กับตัว เวลาได้ยินเสียงแล้ว เสียงนั้นจะกระตุ้นให้กิเลส เกิดขึ้น คือมีความไม่พอใจเกิดขึ้น(หรือเปล่า) ? เวลา(ได้ยิน)เสียงที่เราไม่ชอบ ทาให้เกิดความรู้สึก หงุดหงิดราคาญ ความรู้สึกหงุดหงิดราคาญที่เกิดขึ้นตรงนั้นแหละเป็นตัวกิเลส แต่ถามว่า เสียงเป็น กิเลสไหม ? ไม่เป็นนะ เสียงเป็นอารมณ์ ถ้าใช้จิตที่ไม่มีกิเลสรับรู้เสียงนั้น เสียงก็เกิดในที่ว่าง ๆ เสียงไม่ได้ บอกว่าเขาเป็นโลภะ เป็นโทสะ หรือเป็นโมหะ เขาเป็นปัจจัยให้กิเลสเราเกิดได้แต่ตัวเขาเองไม่ใช่กิเลส หรอก แล้วกิเลสอยู่ตรงไหนล่ะ ? อยู่ที่จิตเรา เพราะความไม่เข้าใจ
เสียงประเภทไหนที่ทาให้กิเลสเกิด ? เสียงที่ไม่ชอบ ใช่ไหม ? เสียงที่ไม่ชอบนี่ไม่แยกเลยนะว่า เป็นเสียงธรรมะหรือเสียงที่ไม่ใช่ธรรมะ บางครั้งฟังธรรมะกิเลสก็เกิด ชักหงุดหงิด ฟังไม่รู้เรื่อง พูดอะไร ก็ไม่รู้... แต่เวลาฟังดนตรีที่เรารู้สึกพอใจ เพลิดเพลินเคลิบเคลิ้ม ไม่เรียกว่าเป็นกิเลสหรือ ? นี่คือตัวอย่าง หนึ่งว่า อารมณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเสียงที่ได้ยินหรือภาพที่เห็น ตัวเขาเองไม่ใช่กิเลส แต่เป็นที่อาศัยของ กเิ ลสได้ เปน็ เหตปุ จั จยั ใหก้ เิ ลสเกดิ ขนึ้ ได้ ถา้ เราไมแ่ ยกระหวา่ งจติ เรากบั อารมณอ์ นั นนั้ เขา้ ไปยดึ เขา้ ไปหลง เข้าไปคลุกคลีเมื่อไหร่ ความมีตัวตนเกิด ความเป็นเราเกิดขึ้นมา กิเลสก็เกิดขึ้น เมื่อความมีเราเกิดขึ้น กิเลสก็ตามมา
ถามว่า กิเลสตัวไหนที่เห็นยากที่สุด ? โมหะ ความไม่รู้ แต่ที่เห็นง่ายที่สุดคือตัวโทสะ ทาไมถึง เห็นง่าย ? เพราะว่าเขามีน้าหนัก เขาทุกข์ แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า เราไม่ชอบที่จะมีโทสะ ไม่ชอบแสดง อาการ มนั หนกั มนั อดึ อดั เรากเ็ ลยเหน็ ไดง้ า่ ยกวา่ แตเ่ วลาโลภะเกดิ ขนึ้ นเี่ หน็ ไหม ? อจิ ฉานอี่ ยใู่ นโลภะหรอื โทสะ ? โลภะ ความอิจฉาเกิดขึ้น อยากได้ของเขา... จะอยู่หมวดไหนก็ตามอันนั้นไม่ต้องไปกังวล ประเด็น กค็ อื วา่ เวลาอารมณเ์ หลา่ นเี้ กดิ ขนึ้ อยทู่ เี่ ราพอใจทจี่ ะละพอใจทจี่ ะดบั หรอื เปลา่ กเิ ลสตา่ ง ๆ ทเี่ กดิ ขนึ้ ไมใ่ ช่ เรื่องยากที่จะละ แต่ไม่ค่อยอยากที่จะละมากกว่า
เคยสังเกตไหม เขาจะเริ่มแรงแค่ไหนก็ตาม พอเรามีสติปึ๊บ เขาก็จะหยุด หยุด หยุด หยุด... เขาก็ ไม่แสดงออกไป ใช้เวลาไม่กี่นาทีเขาก็หยุด แต่เมื่อไหร่ที่เราไม่อยากจะละ เราปล่อยไปตามอารมณ์ของเขา เดี๋ยวก็สนุกกันแหละ เราก็(กลาย)เป็นเพื่อนกัน เพื่อนซี้เขาพาไปไหนก็ไปด้วย แล้วก็ร่วมกันทากิจกรรม นั้น ๆ หลังจากนั้นก็มานั่งร้องไห้คนเดียว! กิเลสผ่านไป...เหลือแต่ใจที่เศร้าหมอง เหลือความทุกข์ที่เกิดขึ้น จากการกระทาของกิเลส ซึ่งไม่ใช่ตัวเราเลย เขาจรเข้ามาชั่วขณะหนึ่งแค่นั้นเอง กิเลสเป็นอารมณ์ที่จรมา ในชั่วระยะเวลาหนึ่ง มาปรุงแต่งจิตเรา แล้วก็ทาตามเขาไป
การที่เราปฏิบัติธรรม มีสติรู้ถึงอารมณ์ที่ปรากฏขึ้นมา แล้วมีเจตนาที่จะเข้าไปดับ พอใจที่จะละ อารมณ์อันนั้น เพราะฉะนั้น การมีเจตนาจึงเป็นสิ่งสาคัญ เจตนาที่จะละ/เจตนาที่จะดับ เมื่อไหร่ที่(กิเลส) เกิดขึ้นมา ก็มีสติเข้าไปกาหนดรู้ว่าเขาดับอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกาหนดรู้ความจริงอย่างหนึ่งว่า เวลาที่มีอารมณ์เข้ามากระทบทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย หรือทางใจก็ตาม ให้สังเกตดูว่า จิต ที่ทาหน้าที่รู้กับอารมณ์ที่เกิดขึ้น เขาเป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วนกัน ทาไมถึงตั้งคาถามแบบนี้เสมอ ?