Page 452 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม
P. 452
384
เวลาคิดขึ้นมาก็รู้ อ๋อ!เป็นความคิดอย่างหนึ่ง ไม่ใช่เรา เป็นสภาวธรรมอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นมา พอมี เวทนาเกิดขึ้นมา อ๋อ!เป็นเวทนา เป็นสภาวธรรมอย่างหนึ่งเกิดขึ้นมา ไม่ใช่ของเรา เป็นของไม่เที่ยง พอได้ ยินเสียงขึ้นมา ก็เป็นสภาวธรรมอย่างหนึ่ง ที่อาศัยปรากฏทางหูเกิดขึ้นมา ให้ใช้หูได้รับรู้ แล้วก็ดับไป มีการ เห็นภาพขึ้นมา ก็เห็น อ๋อ!ภาพก็เป็นรูปอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้น ก็ดับไป ไม่มีเรา ลองดูสิ ยิ่งเห็นความไม่มีเราใน อารมณ์ต่าง ๆ มากเท่าไหร่ เห็นถึงความไม่มีเรา ไม่บอกว่าเป็นเรา ไม่บอกว่าเป็นใคร ในสภาวะในอารมณ์ ต่าง ๆ ในขันธ์ทั้ง ๕ ที่เกิดขึ้นนี่นะ ลองดูว่าจิตใจรู้สึกเป็นอย่างไร ดีไหม สบายไหม
นี่นะมีธรรมะเป็นที่พึ่ง มีปัญญาเป็นที่อาศัย ถ้าอยู่ตรงนั้น เราจะรู้สึกว่า จิตใจเรามั่นคง ถามว่าเขา กลัวอะไร ทีนี้ โยมยังกลัวตายอยู่ไหม...กลัวนะ เอ่อ!ไม่มีอะไรเป็นของเราเลย เสียงก็เกิดดับ เวทนาก็เกิด ดับ รูปก็เกิดดับ จิตที่ทาหน้าที่รู้เกิดดับ ความคิดเกิดดับ มีอะไรบ้างที่ไม่เกิดดับ...ไม่มีนะ แสดงว่าเกิดตาย ตลอดเวลาอยู่แล้ว เห็นไหมรูปนามขันธ์ ๕ เกิดดับ เหมือนเกิดตายตลอดเวลา แต่ว่ารูปบัญญัติยังไม่ตาย รูปจริงยังไม่ตาย เขาเรียกว่ากลายเป็นว่า เอ่อ!รูปจริงยังไม่ตาย รูปจริง ๆ เหมือนเกิดตายตลอดเวลา อันนี้ รูปอะไร อ๋อ!เป็นบัญญัติกับปรมัตถ์ สภาวะปรมัตถ์ มีการเกิดดับตลอดเวลา
แต่เพราะปรมัตถ์ที่ละเอียดนี่แหละ เราไปรู้ภายในที่ละเอียดอ่อน ที่มันเกิดดับ จะได้ไม่ยึดทั้งรูป บัญญัติด้วย รูปบัญญัตินี้ถึงเวลาก็เปลี่ยนไป เกิดดับไปเช่นเดียวกัน แต่ก็เพราะอาศัยการเกิดดับตลอด เวลานี่แหละ นี่คือการพิจารณา ทีนี้พอพิจารณา สังเกตไหมว่า เรากาหนดรู้ถึงความเป็นคนละส่วน ๆ อย่าง เดยี ว ยงั สบายขนาดนี้ เหน็ ถงึ ความเปน็ อนตั ตาของรปู นามขนั ธ์ ๕ ทเี่ กดิ ขนึ้ ทงั้ ภายในและภายนอก จติ รสู้ กึ สบายขนาดนั้น แล้วอะไรอีก อ่ะ! ที่นี้พิจารณาถึงความไม่เที่ยงของทุก ๆ อารมณ์ที่เกิดขึ้น คือการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไป ไม่ว่าอารมณ์อะไรก็ตาม
นี่แหละ! ดับตัวตนแล้วค้นธรรม พิจารณาสภาวธรรมที่เกิดขึ้น มาพิจารณาอาการเกิดดับ ไม่ว่าจะ เปน็ อาการพองยบุ อาการของลมหายใจเขา้ ออก อาการของเวทนา อาการเกดิ ดบั ของความคดิ อาการเวทนา ทางกาย ทางใจ อาการเกิดดับของเสียง อาการเกิดดับของความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง เคร่งตึง อาการเกิด ดับของจิตที่ไปรู้ แม้แต่สภาพจิตที่เบา ที่สงบ ที่ผ่องใส ที่สว่าง ก็ยังมีความเปลี่ยนแปลง ความเป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เกิดขึ้นแล้วดับไป เกิดขึ้นแล้วดับไป มีแล้วหายไป ตรงนี้ที่บอกว่า การยกจิตขึ้นสู่ความว่าง การยกจิตขึ้นสู่ความว่าง จะทาให้เราพิจารณาอาการพระไตรลักษณ์ ของอารมณ์ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น
ที่บอกไม่เข้าไปยึด ถามว่าอาการเหล่านี้นะเขาจะสลับกันมา ทั้งภายใน ภายนอก ก็จะสลับกันเกิด ขึ้นมา แล้วถามว่า แล้วก็เกิดปัญหา แล้วเมื่อกี้นี้ว่าง ๆ ไม่มีอาการเกิดดับเลย เดี๋ยวนี้นั่งแล้วว่าง ไม่มีอาการ เกิดดับ ไม่มีอะไรเปลี่ยนเลย มีแต่ความรู้สึกไม่พอใจ ที่ไม่ชอบ รู้สึกไม่พอใจ มันอยู่เหมือนเดิมนานเกิน มันว่างมากเกิน อยู่เหมือนเดิมนานเกิน ก็เลยไม่พอใจ มันเลยไม่เห็นอะไรเปลี่ยน พอไม่เห็นอะไรเปลี่ยน ก็เลยไม่พอใจเสียเลย จะได้เห็นอะไรเปลี่ยน พอไม่พอใจ อะไรเปลี่ยน เรานี่แหละเปลี่ยนอารมณ์ เปลี่ยน อารมณ์ พอเปลี่ยนปึ๊บ ความว่างนั้นยังอยู่ไหม ไม่อยู่แล้ว หายแล้ว ตอนที่ความว่างหาย ก็ไม่เห็นอีก พอ เปลี่ยนเอง...เห็นไหม