Page 525 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม
P. 525
457
กรรมฐาน พิจารณาเพื่อพัฒนาสติ สมาธิ ปัญญาของเรา ให้แก่กล้ายิ่งขึ้นไปอีก ด้วยการเข้าไปกาหนดรู้ ถึง การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของเวทนาเอง อันนี้อย่างหนึ่ง
อีกอย่างหนึ่งก็คือ นอกจากเวทนาทางกาย เวทนาทางจิต เวทนาทางจิต ส่วนใหญ่...เราทุกข์ ทุกข์ เพราะอะไร ทุกข์กับเวทนาทางจิต นั่นจึงเรียกว่าเป็นความทุกขเวทนา มีความไม่สบายใจ มีความอึดอัดใจ มีความหงุดหงิดใจ มีความราคาญที่เกิดขึ้น หงุดหงิด ราคาญใจ หดหู่ ห่อเหี่ยว เบื่อหน่ายเกิดขึ้นมา จิตใจ ที่แห้งแล้งแบบนี้ อันนี้เขาเรียกว่า เวทนาทางจิตอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง ก็คือเวทนาทางจิต ที่เรารู้สึกว่า เราไม่รู้สึกอะไร เฉย ๆ ความเฉยนั่นแหละ เขาเรียกอุเบกขาเวทนา แต่เฉยจริงไหม สังเกตดี ๆ
เราเฉยจริง หรือแค่ไม่ใส่ใจ อันนั้นอย่างหนึ่ง หรือไม่ชัด แค่รู้สึกว่า เราวางเฉยโดยเพราะไม่ใส่ใจ หรือจิตมันเฉยนิ่งกับทุก ๆ อารมณ์ที่เกิดขึ้น มีความสงบ สงบจากอกุศล สงบจากการปรุงแต่งที่เป็นอกุศล ตรงนั้นจิตจะเป็นกุศล มีความตั้งมั่น สงบจากตัวตน เป็นความวางเฉยทุก ๆ อารมณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย หรือทางใจ ที่เกิดขึ้นมา จิตก็ยังมีความนิ่งเฉยกับอารมณ์เหล่านั้น อันนี้เขาเรียกเวทนาทางจิต
อีกอย่างหนึ่งก็คือความสุข ความสุขที่เกิดขึ้น จิตใจที่มีความสุข มีความสบาย มีความนุ่มนวล มี ความอ่อนโยน มีความเบิกบานเกิดขึ้น อันนี้เขาเรียกว่า เป็นเวทนาอย่างหนึ่ง เป็นเวทนาทางจิต เวลาเรา ป ฏ บิ ตั ธิ ร ร ม ส ภ า ว ธ ร ร ม ท เี ่ ก ดิ ข นึ ้ น อ ก จ า ก เ ว ท น า ท า ง ก า ย ก ม็ เี ว ท น า ท า ง จ ติ เ ว ท น า ท า ง จ ติ อ า ศ ยั อ ะ ไ ร อ า ศ ยั ผัสสะ อาศัยผัสสะคืออาการกระทบอารมณ์ ที่เข้ามากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจของเรา อารมณ์ที่ เข้ามากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทาให้จิตใจเกิดความรู้สึกดี รู้สึกเฉย ๆ รู้สึกไม่ดีขึ้นมา นั่นก็เป็น เวทนา
อย่างเช่น ที่เราทุกข์อยู่ทุกวันนี้ อารมณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อสติ รู้ไม่เท่าทัน ปัญญาไม่เกิดขึ้น เข้าไปปรุงแต่งหรือยึดเอา ก็ทาให้เกิดความทุกข์ ความขุ่นมัวเศร้าหมองเกิด ขึ้นได้ เพราะฉะนั้นอารมณ์เหล่านี้ เวทนาที่เกิดขึ้นก็เป็นของไม่เที่ยง การที่เข้าไปกาหนดรู้ ถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของเวทนา ไม่ใช่แค่เฉพาะเวทนาทางกาย เรารู้เวทนาทางกายว่า มีการเกิดขึ้น มีการเกิดดับ เปลี่ยนแปลงอย่างไร เวทนาทางจิต ก็ควรกาหนดรู้แบบเดียวกัน
ไม่ใช่ว่า เวทนานี้ อารมณ์นี้ชอบไม่ชอบ ชอบก็คลุกคลีไป ไม่ชอบก็หงุดหงิดราคาญ แล้วก็เป็นทุกข์ ไป ความทุกข์เองก็ไม่เที่ยง ความทุกข์ก็ไม่ใช่ของเที่ยง เพราะฉะนั้น หน้าที่เราทาอย่างไร คือกาหนดรู้เอง ความทุกข์ใจที่เกิดขึ้น ลองดูสิ ความไม่เที่ยงของความทุกข์นั้น เป็นอย่างไร ไม่ใช่ไม่เที่ยง ไม่ใส่ใจ แล้วก็ยัง ทุกข์ต่อไป แสดงว่า เราไม่ได้สนใจถึงความไม่เที่ยง ไม่ได้กาหนดรู้ถึง การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของความ ทุกข์นั้น แต่ปล่อยให้มันไป มันหายเองตามยถากรรม จบเอง เดี๋ยวถึงเวลามันก็หมดเอง หายเอง
หายได้อย่างไร ที่ความทุกข์หยุดไป เพราะจิตใจเรา เสพอารมณ์ความทุกข์นั้นจนอิ่ม เขาเรียกว่า อิ่มจนทุกข์ ไม่รู้จะทุกข์อย่างไรแล้ว แล้วมันก็หยุดไป นิ่งไป แล้วก็ เอ่อ!มันไม่เที่ยง เดี๋ยวมันหายแล้ว แต่