Page 85 - พระอาจารย์เทศน์เนื่องในโอกาสวันสำคัญทางพุทธศาสนา
P. 85
น้อมนาคาสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเป็นที่ตั้งเป็นที่ ระลึกก็คือ สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา ก็คือการเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไปของ ธรรมชาติของรูปนามขันธ์ห้านั่นแหละ
พูดถึงรูปนามขันธ์ห้า เรามาสนใจแต่ว่าเรื่องของร่างกายของคน ของชีวิตของคน จริง ๆ แล้วรวมทุกอย่างที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ที่เป็น รูปนามขันธ์ห้า แม้แต่รูปที่เราบอกว่าเป็นโต๊ะเตียงต่าง ๆ ที่เราบอกว่าเป็น รูป ๆ หนึ่ง ไม่มีวิญญาณ แต่ถ้าไม่มีจิต ตัววิญญาณรู้ รู้ได้อย่างไรว่าเป็น โต๊ะเป็นตู้เป็นเตียง กลายเป็นว่ารูปนามเขาอาศัยกันอยู่ ถ้าไม่มีนาม ไม่มี วิญญาณขันธ์ทาหน้าที่รู้ ก็ไม่รู้ว่ารูปขันธ์ภายนอกนั้นเป็นอย่างไร แต่ใน ขณะเดียวกัน รูปนามขันธ์ห้าเหล่านี้แหละที่ตั้งอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ ที่เราต้องพิจารณาถึงการเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป
ทีนี้กลับมาใกล้ตัวเรา ในการปฏิบัติ ในการเจริญภาวนา ศึกษา ธรรมะ เพื่อให้เห็นความจริง เพื่อออกจากทุกข์ ที่บอกว่ามาพิจารณารู้ อารมณป์ จั จบุ นั อาการของกาย เวทนา จติ ธรรม ทกี่ า ลงั เกดิ ขนึ้ ในปจั จบุ นั นั้นเป็นอย่างไร ขณะที่เราเจริญกรรมฐาน อารมณ์ที่เกิดขึ้นมาทางกาย นอกจากกายที่นั่งอยู่ ก็มีอาการของลมหายใจ อาการเคลื่อนไหวของท้อง อาการพองยุบ หรืออาการเต้นของหัวใจที่เกิดขึ้น นี่คืออารมณ์ปัจจุบันที่ เกิดขึ้น เป็นอาการของรูป เพราะการกาหนดรู้อารมณ์เหล่านี้ที่เป็นอารมณ์ ปัจจุบันจะทาให้เราเพิกบัญญัติ เห็นความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ที่เรายึดว่า เป็นตัว เป็นกลุ่มก้อน เป็นวัตถุ เป็นเรื่องราว ที่เข้าไปยึดได้ ก็อาศัยความ เป็นกลุ่มก้อนหรือความเป็นบัญญัตินั่นเอง
81