Page 55 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การยกจิตขึ้นสู่ความว่าง
P. 55

51
เราเริ่มเห็นสัจธรรมตั้งแต่แรก คือตรงที่ไม่มีเรา เขาเรียกเป็นอนัตตานี่นะ ความรู้สึกว่าเป็นเราไม่ เกิดขึ้น หรือละความรู้สึกว่าเป็นเรา ทาจิตให้ว่าง เหลือแต่อาการที่ปรากฏเกิดขึ้นมา อาการทางกายที่เกิด ขึ้นมา ในการเจริญกรรมฐานจึงต้องมีความพอใจ เขาเรียกมีตัวฉันทะ มีความพอใจมีเจตนาที่จะกาหนดรู้ ถงึการเกดิขนึ้ตงั้อยู่ดบัไปของอารมณท์กี่าลงัปรากฏในทนี่ี้ในเบอื้งตน้เราหมายถงึอาการของกายอาการ ทางกาย อาการของรูป
แต่ถ้าใครรู้สึกว่ายกจิตขึ้นสู่ความว่างแล้วรูปหายไป ตัวหายไป ไม่มีตัวแล้วนะ ยกจิตขึ้นสู่ความ ว่างตัวก็ว่างหายไป ไม่มีตัวตน แต่ก็ยังรู้สึกถึงอาการ ถึงลักษณะของอาการความเย็น ความร้อน อาการ เคร่งตึง ความหนัก ความเบา อาการกระเพื่อมไหว อาการเต้นของหัวใจยังปรากฏเกิดขึ้นอยู่ ซึ่งไม่มีรูป ร่างของหัวใจ แต่ก็รู้สึกถึงอาการกระเพื่อมไหว อาการเต้นอยู่ นั่นก็เป็นอาการทางกายอย่างหนึ่ง ถึงไม่เห็น รูปร่างของกาย เพราะอะไร เพราะอาศัยกายเกิดขึ้น และก็มีจิตทาหน้าที่รับรู้อาการนั้นอยู่ จึงเป็นอาการดู อาการเกิดดับของอารมณ์ทางกายที่เกิดขึ้น
แต่ในขณะที่เราตามกาหนดรู้ ไม่ต้องไปกังวลว่าอันนี้เรียกว่ากายส่วนไหนนะ อันนี้เป็นอาการกาย ส่วนไหน อาการเต้น เป็นอาการเต้นของหัวใจ เป็นอาการของชีพจร เป็นอาการเกิดดับของอาการกะพริบ ไม่ต้องไปกังวล รู้ถึงลักษณะอาการเกิดดับไปเลยว่า เกิดดับไปในลักษณะอย่างไร อันนี้มุ่งไปที่อาการเป็น หลัก ในเบื้องต้น ในขณะแรกเราอาจจะรู้แล้วว่า พอหลับตาลง พอว่างปื๊บ ที่ตัวหรือที่กายของเรามีอาการ เกิดดับ มีเป็นขณะวื๊บ ๆ ๆ ฟื๊บ ๆ ข้ึนมา แสดงเป็นอาการเรียกว่าเป็นอาการทางกายแล้ว เพราะฉะนั้น รู้อาการตรงนี้ขึ้นมาปรากฏเกิดขึ้น แล้วมีเจตนาตามกาหนดรู้นั้น ถือว่าเป็นการกาหนด เป็นการดูกายใน กายอยู่แล้ว พิจารณาอาการเกิดดับไป จนกว่าอาการเกิดดับนั้นสิ้นสุดลง อันนี้คืออารมณ์หนึ่งที่จะเกิดขึ้น เขาเรียกว่าอาการทางกาย เป็นอารมณ์หลักอย่างหนึ่งในการเจริญกรรมฐาน อาการแบบนี้เป็นสิ่งที่จะเกิด ขึ้นนะ เป็นอารมณ์ที่จะเกิดขึ้นให้โยคีได้กาหนด ได้รับรู้นะ สลับกันเป็นระยะ ๔ อย่าง ที่จะปรากฏเกิดขึ้น อันนี้เป็นอาการทางกาย
อีกอย่างหนึ่งก็คือเรื่องของเวทนา เขาเรียก...นอกจากตามรู้อาการทางกาย ดูกายในกาย ก็รู้อาการ ของเวทนา อาการของเวทนาที่เกิดขึ้น เราแยกเป็น ๒ ส่วน คืออาการเวทนาทางกาย เวทนาทางกายคือ เจ็บ ปวด เมื่อย ชา คัน ที่เกิดขึ้นตามร่างกายของเรา ตรงนี้จัดเป็นเวทนาทางกาย ซึ่งเวทนาทางกายกับอาการ ของลมหายใจ หรืออาการพองยุบ เรากาหนดรู้แบบเดียวกัน ทาไมถึงแยกแบบนี้ แยกลักษณะความเป็น อาการ เวทนาขนั ธน์ นั่ เอง เปน็ เวทนา เปน็ อารมณท์ จี่ ะปรากฏเกดิ ขนึ้ เพราะบางทพี อมเี วทนาชดั ขนึ้ มา อาการ ทางกาย อาการอย่างอื่นก็จะไม่ชัดเจน มีเวทนาชัดกว่า จึงต้องกาหนดรู้ เอาเวทนานั้นแหละมาเป็นอารมณ์ กรรมฐาน แล้วเวทนาเหล่านี้ก็จะสลับกันมา กับอาการอย่างอื่น กับอาการของลมหายใจ กับอาการเต้นของ หัวใจ หรืออาการของพองยุบ ก็สลับกันอยู่
อ า ก า ร ข อ ง เ ว ท น า ท เี ่ ก ดิ ข นึ ้ ก จ็ ะ เ ป น็ ต วั บ ง่ บ อ ก ถ งึ ล กั ษ ณ ะ ข อ ง ป ญั ญ า ห ร อื เ ร ยี ก ล กั ษ ณ ะ ข อ ง ส ภ า ว ญ า ณ อีกขั้นตอนหนึ่งที่ปรากฏเกิดขึ้นมา ที่สาคัญก็คือว่าในการเจริญกรรมฐาน เราพิจารณาอาการถึงลักษณะ


































































































   53   54   55   56   57