Page 29 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การปรับอินทรีย์
P. 29
281
ว่าง คือการทาจิตของเราให้มีสมาธิ นิ่งเข้าสู่สมาธิ ถ้าเป็นเรียกอีกอย่างหนึ่ง ก็คือนิ่งปึ๊บทาจิตให้กว้าง จิต จะสงบและมีสมาธิขึ้นมา พอมีสมาธิแล้วสังเกตอาการ ทีนี้ตรงที่กว้างแบบนี้ ทาไมถึงกว้างได้ ปัญญานี่นะ ปัญญาที่เห็นว่า จิตกับกายมีความแยกส่วน เป็นความแตกต่างกัน จิตสามารถให้กว้างได้ ความสงบกว้าง ได้ เขาก็สงบ ก็กว้าง กลายเป็นบรรยากาศรองรับ ที่บอกว่าสงบกว้างเป็นบรรยากาศ เป็นเหมือนอารมณ์ ฌานไปเลย
ไมต่ อ้ งมา...แตถ่ า้ เรานงิ่ แลว้ แคบ ๆ ลองดนู ะ พอเรานงิ่ แลว้ จติ เราแคบ ๆ นนี่ ะ มนั จะจดจอ่ แลว้ กลาย เป็นจ้อง บางครั้งก็กลายเป็นจ้องอาการไป นิ่งแล้วอึดอัด นิ่งแล้วถ้าแคบปึ๊บ นิ่งแล้วมันหลุด นิ่งแล้ว หลุด ๆ ๆ มันมีอาการเดี๋ยวอารมณ์นั้นดึงไป เดี๋ยวอารมณ์นี้ดึงไป ขณะที่เราเดินจงกรมอยู่นี่นะ พออะไร... เดินปึ๊บมันจะแว็บ ๆ ๆ ไป มันดึงออกจากอารมณ์หลัก แต่ถ้าบรรยากาศเรากว้าง จิตเรากว้างจนเป็น บรรยากาศ แล้วเดินอยู่ในบรรยากาศ พอเรานิ่งปึ๊บรู้บรรยากาศ อารมณ์ที่เข้ามานะ มันเหมือนผ่านหางตา เรา เราไม่ต้องมุ่งแว็บไปดู มันแค่ผ่านสายตาแค่เหมือนอยู่หางตา เรียกได้ไหมหางตา เอ่อ! มันอยู่ขอบ ๆ บรรยากาศ แค่ผ่าน ๆ ไม่ได้ มันไม่สามารถดึงจิตเราต้องแว็บไป ๆ ๆ ๆ แค่รู้สึกว่าเหมือนมีอะไรผ่าน ตรงนี้ผ่าน ๆ ๆ เพราะอะไร กลายเป็นว่าตรงนี้สติเราดี มันเลยเห็นอะไรแบบสบาย ๆ ไม่มีอาการกระชาก จิตเรา
เพราะฉะนั้นพอมีจุดโฟกัส มีเป้าหมายที่จะรู้อาการเกิดดับตรงนี้ปึ๊บ ล็อค มุ่งไปที่อาการเดิน นิ่ง นิดหนึ่งแล้วก็จดจ่อ ที่บอกว่านิ่ง แล้วมีเป้าหมายที่อาการเกิดดับของการเดิน ตรงนี้แหละพอมีเป้าหมาย ที่อาการเกิดดับของการเดิน เขาจะเหลือแค่อารมณ์เดียว เหลืออารมณ์เดียวก็เป็นเอกคตารมณ์ มีอารมณ์ เดียวในการรับรู้ แต่การที่จะเป็นอารมณ์เดียวแบบนี้นี่นะ ถ้ามีบรรยากาศ อันนี้เราจิตก็จะอยู่กับอารมณ์ เดียวได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าไม่มีบรรยากาศ มันก็จะมีอาการ มีอารมณ์จรแทรกเข้ามา ซัดส่ายไปเรื่อย ๆ ได้
สังเกต...ถึงแม้เราไม่มีบรรยากาศนี่นะ ตอนที่ไม่มีบรรยากาศ ถึงแม้เราไม่ได้ใส่ใจอาการของ บรรยากาศ แต่เมื่อจิตมีอารมณ์เดียวจริง ๆ นี่นะ ตรงนี้เขาจะสงบ พอเหลือแต่อาการเดียวที่ตามกาหนดรู้ แล้วเหลือแค่อาการเกิดดับอย่างเดียว เฉพาะหน้า...แล้วชัดเจน ตอนนี้เกิดดับเฉพาะหน้ามีความชัดเจน เกิดดับ ๆ ๆ ๆ นี่นะ ตรงนี้ข้าง ๆ อารมณ์ข้าง ๆ จะถูกตัดไปหมด เหลือแต่ข้างหน้ากับรอบ ๆ สังเกตมี ความสงบ มีความใส หรือมีอาการดับแล้วสว่างขึ้น ๆ สว่างขึ้น นี่ก็คือเหลือแค่อารมณ์เดียว
เพราะฉะนั้นการกาหนดสภาวะ การนิ่งแบบนี้ให้ ใช้เป็นระยะ ไม่ใช่ว่านิ่งตั้งแต่เริ่มต้น แล้วปล่อย นิ่งทีเดียว ก็ปล่อยไปเลย การที่เราคอยสังเกตดูสภาพจิต ดูอาการแบบนี้นี่แหละ ตามรู้อาการและสังเกต เป็นระยะ เมื่อไหร่ที่ควรนิ่ง ถามว่าเราจะนิ่งตอนไหนดี จะนิ่งตอนไหนดี หรือจะนิ่งตลอดเวลา นิ่งตอนที่ รู้สึกว่าเมื่อไหร่ท่ีเราเหนื่อย หรือหมดกาลัง ตามอาการไปสักพัก รู้สึกไม่มีกาลัง ก็ต้องนิ่ง อีกอย่างหนึ่ง พอเข้าไม่ถึงอาการก็ต้องนิ่งแล้วมุ่งเข้าไป นิ่งแล้วเข้าไป ใส่ใจอาการ เขาจะมุ่งไปที่อาการ ตอนที่เราตาม อาการ ทีนี้ตอนที่ตามอาการเกิดดับที่ปื๊บ ๆ ๆ ตรงนี้ต้องนิ่งขึ้น อาการเกิดดับยิ่งบางลง ๆ ๆ ต้องนิ่งตาม จังหวะ หมายถึงว่าดับฟึ๊บแล้วก็นิ่ง ๆ ๆ ๆ ๆ มันจะนิ่ง ๆ นิ่งตามจังหวะอาการทุกครั้ง