Page 8 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การปรับอินทรีย์
P. 8

260
สมมติว่า อาจารย์เขียนเป็นวงกลม อันนี้คือสภาพจิตนะ โยคีจะต้องรู้ว่านี่คือสภาพจิตตัวเอง พอ พูดถึงความสุข ตรงนี้คือความสุข นี่คือสภาพจิตที่สุขของโยคี เราก็ต้อง อ๋อ! ความสุขของเรามีลักษณะ อย่างนี้ แล้วเมื่อมีความสุขตรงนี้ อาการที่เกิดขึ้นในบรรยากาศของสภาพจิตปึ๊บ อ๋อ! เขาเกิดอยู่ใน ความสุข เราสรุปได้ทันทีเลย แล้วอาการเกิดดับเขาเป็นยังไง... มันจะได้สานต่อเนื่องไป นี่คือยกตัวอย่าง เวลาฟังแล้วไล่สภาวะตามจะได้ทาต่อเนื่องไปได้ เพราะฉะนั้น เวลาปฏิบัติ ถ้าเราจาหลักได้แล้ว เดินหน้า ต่อ! มันติดขัดยังไงอาจารย์พร้อมที่จะให้ถามเสมอ
อาจารยม์ อี ยา่ งหนงึ่ กค็ อื วา่ ถา้ สอนโยคแี ลว้ ไมเ่ ขา้ ใจขณะนนั้ ไลส่ ภาวะไมไ่ ด้ ดกุ ต็ อ้ งดุ สงั เกตไหม ว่าอาจารย์จะไม่ปล่อยให้ออกไปแบบงง ๆ เว้นแต่ว่าสอนไม่เข้าใจจริง ๆ งงก็งงไปก่อน มีหลายคนพอฟัง ไม่เข้าใจ งง ๆ ออกมาถาม “คํา ๆ นี้หมํายควํามว่ํายังไง ?” ตอนที่ไล่สภาวะนี่...เข้าใจ ตอนที่ให้ทา...ทาได้ แต่ไม่กาหนดจาตรงนั้น แล้วก็เล่า ๆ ต่อ ลืมตรงที่อาจารย์บอกตอนที่ไล่สภาวะ พอออกมาแล้ว อาจารย์ให้ เกาะติด... “เกําะติดยังไง!?” ตอนที่ให้ทานี่ทาได้ แต่พอออกมาแล้ว... “หมํายควํามว่ําอย่ํางไร!?” เป็นเรื่อง แปลก! ตรงนี้ต้องสังเกตดี ๆ ถ้าจะให้ดี
เวลาไล่สภาวะโยคี มีเจตนาอยู่อย่างเดียวในการสอนธรรมะ คืออยากให้การปฏิบัติของโยคี ก้าวหน้าให้เร็วที่สุดเท่าท่ีจะเร็วได้ นี่คือเจตนาเลย เพราะฉะนั้น เวลาเจอโยคีก็จะถาม “สภาวะเป็นไง ?” “รู้สึกยังไง ?” ถ้าถามแบบนั้นก็ถือโอกาส แต่ถ้าไม่ถาม...อาจารย์ก็จะเดินหนีแล้ว บางทีก็หลบ ๆ เขาเริ่ม เข้าใจ พออาจารย์เริ่มหลบ เขาก็จะค่อย ๆ หลบไป เพราะฉะนั้น เวลาสงสัยให้ถาม อย่างที่ถามเมื่อกี้นี้ วิธี แก้สภาวะอย่างหนึ่งก็คือว่า พอมีความง่วงขึ้นมาแล้วเรารู้สึกไม่รู้จะแก้ยังไง แก้อย่างนี้ก็ไม่ได้ เดี๋ยวก็ง่วง เดี๋ยวก็ง่วง... เราสามารถเลือกได้ เปลี่ยนอิริยาบถได้ถ้ามันง่วงจริง ๆ พอเริ่มนั่งแล้วง่วงเริ่มนั่งแล้วหลับ แต่พอเดินแล้วรู้สึกตื่นตัวขึ้นมา ลองเลยนะ
อกี อยา่ งหนงึ่ กค็ อื พอเรมิ่ งว่ งปบุ๊ จอ้ งอาการงว่ งอยา่ งเดยี ว อยา่ ไปหาอาการอนื่ ระวงั ความงว่ งทจี่ ะ เข้ามาดูซิว่ามันจะมาตอนไหน จะมาตอนไหน... เหมือนระวังความคิด พอเราตั้งใจที่จะกาหนดให้ทัน ความ ง่วงจะมาแล้วนะ จะมาแล้วนะ... เรากาหนดไปเลย ทันที ทันที ตรงนี้จิตจะตื่น ความง่วงคือปัญหาใหญ่ ถ้าไม่ใส่ใจตั้งแต่ต้น พอเริ่มหลับตาปุ๊บ ยกจิตขึ้นสู่ความว่าง แล้วเราก็เรื่อย ๆ นิ่ง ๆ ไปหาอาการ ไม่ระวัง ความง่วง เดี๋ยวก็หลุด วูบไป...ตื่นขึ้นมาทีนี้ก็สดชื่นแล้ว สมมติว่าเรากาหนดเวลานั่งหนึ่งชั่วโมง ลองสังเกต ดี ๆ นะ บัลลังก์ที่หนึ่ง...เราหลับตั้งครึ่งบัลลังก์ เราหลับ ๓๐ นาที บัลลังก์ที่สอง...นั่งอีกหนึ่งชั่วโมงก็หลับ อาการหลับตรงนี้ขอให้ระวังมากขึ้น ๆ เรื่อย ๆ อาการหลับก็จะน้อยลง เพราะสติเราจะมีกาลังมากขึ้น
เพราะฉะนั้น ในบัลลังก์หนึ่ง ๆ ตรงนั้นอย่าเพิ่งกังวล เอาใหม่ เริ่มใหม่แล้วทาให้จบ ทาให้จบ นั่ง ไปเลย หลับก็คือหลับ แล้วก็ต่อไประวัง อย่างที่บอกว่า พอเริ่มนั่งทุกครั้งให้ระวัง...จะมาแล้วนะ พอจะมา ปุ๊บเราลืมตาขึ้นมา ลืมตาแล้วนิ่ง นิ่งจับที่ความรู้สึกเราก่อน อาการไหนปรากฏรู้ตรงนั้น ไม่ต้องแสวงหา อารมณ์อะไรมาก ไม่ต้องเดี๋ยววิ่งไปที่เสียงบ้าง วิ่งไปดูตรงนั้นตรงนี้บ้าง ถ้าวิ่งแบบนั้นบ่อย ๆ สมาธิเรา จะน้อย ให้นิ่งแล้วดูอาการที่ปรากฏชัดเข้ามาในความรู้สึกเรา ก็จะมีหลาย ๆ อารมณ์ เดี๋ยวตรงนั้นเดี๋ยว ตรงนี้ เขาจะเด่นชัดขึ้นมา ตรงนั้นแหละที่บอกว่าสมาธิที่ทาให้ง่วงก็จะเปลี่ยนเป็นกาลัง สติมีมากขึ้นกลาย


































































































   6   7   8   9   10