Page 28 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การน้อมพลังบุญเพื่อการอธิฐานจิต
P. 28
834
รูปขันธ์เดิน แล้วเวทนาขันธ์ เราจะเห็นไหม...ก็ไม่เห็น ถ้าเราเห็นนี่นะ คนเดินเต็มไปหมดรู้ไหมว่า เขาปวด ไม่ปวด นอกจากกะเผลก แล้วทาหน้าเหยเก...ล่ะ ถึงรู้ว่า อ๋อ!เขาไม่สบายนะ เราสังเกตก็ได้ แต่คาดว่า... ปวดแค่ไหน หนักแค่ไหน เวทนาเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน เวทนาทางจิตเป็นอย่างไร ถ้าไม่สนทนา ไม่พูดกัน
แต่การที่กลับมาพิจารณาอารมณ์ภายในนี่นะ ดูกาย ดูจิตของตนเองนี่นะ จะได้เห็นว่า สิ่งที่เราเคย หลง สิ่งที่เราเข้าใจ สิ่งที่เห็นและเข้าใจ อะไรบ้างที่เป็นสิ่งที่เข้าใจถูกต้องแล้ว อะไรบ้าง สภาวธรรมตรงไหน ที่เรายังไม่เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งจริง ๆ เพราะฉะนั้น จึงย้อนกลับมาพิจารณาตรงนี้ ดูอาการของลมหายใจ ดูอาการเต้นของหัวใจ ดูอาการทางกาย ดูจิตตัวเอง ดูอาการ เขาเรียกว่าดูรูปนาม อาการของรูปนามอันนี้ อยู่เนือง ๆ ๆ ๆ จนชัด สังเกตไหมว่า ถ้าเรานั่ง ถ้าเราไม่เคยพิจารณา ไม่เคยสนใจอาการพระไตรลักษณ์ ไม่เคยมีสติ ไม่สนใจอาการเกิดดับของลมหายใจ ไม่เคยสนใจอาการพองยุบ ไม่เคยสนใจจิตเลยนี่นะ เราจะปล่อยวางได้ไหม
เราจะเห็นไหมว่า รูปมันมีรูปร่าง ไม่มีรูปร่างเป็นอย่างไร จิตว่างเป็นอย่างไร ความไม่มีอุปาทานเป็น แบบไหน ไมม่ ตี วั ตนเปน็ อยา่ งไร กไ็ มร่ ู้ กย็ งั รสู้ กึ วา่ นเี่ ปน็ ตวั เราเปน็ ของเราอยู่ รสู้ กึ วา่ เปน็ ของเราอยู่ แมแ้ ต.่ .. แม้แต่ปฏิบัติธรรมแล้วนี่ แยกรูปนามได้แล้ว เห็นความว่างไม่มีตัวตน จิตมันว่าง ตัวหายไปแล้วนะ พอมี ผัสสะขึ้นมา ตัว...นี้ก็ผลุบปรากฏขึ้นมาทันที เชื่อนะว่าไม่มีตัวตน แต่พอมีผัสสะขึ้นมา ตัวตนก็ประกาศ ตัวเองวืบ!ขึ้นมาทาหน้าที่ เพราะอะไร ทาไมคนเราถึงมีตัวตนได้ง่ายนะ ทาไม...ฉัน พอมีผัสสะขึ้นมา ฉัน เป็นคนรับ ฉันจะรับเองนะ โดยเฉพาะสิ่งที่ไม่ดี ฉันรับเต็มที่ อารมณ์ไม่ดี ผัสสะไม่ดีเข้ามา โอ๊ย!รับไม่ได้ เลยเรื่องนี้ เครียด ทุกข์ แต่รับไปเต็ม ๆ แล้วนะ ถ้ารับไม่ได้คงไม่ทุกข์หรอกนะ รับเอาเต็ม ๆ แล้วทุกข์จึง เกิดขึ้นมา
ทีนี้การกาหนดรู้แบบนี้นี่แหละ เหมือนที่เราปฏิบัติ ถามว่าธรรมะที่เกิดขึ้น ถ้าเราตั้งจิตอธิษฐาน ขอ ให้เห็นธรรมะที่พระองค์ทรงตรัสนี่นะ ตรัสเรื่องอะไร ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ลองสังเกตดูเลยว่า เวลาเสยี งดงั ขนึ้ มา นงั่ แลว้ ...นงั่ สงบ มเี สยี งเกดิ ขนึ้ แลว้ สงั เกตดวู า่ เสยี งนเี้ กดิ ดบั อยา่ งไร เสยี งทกี่ า ลงั ไดย้ นิ อยู่นั้น มีการเกิดดับในลักษณะอย่างไร มีความเปลี่ยนแปลงอย่างไร จิตจะมุ่งไปและจดจ่ออยู่กับเสียงนั้น จดจ่อกับจดจ้องกับเพ่งนี่นะใกล้ ๆ กัน แต่ไม่เหมือนกันนะ บางทีจดจ่ออยู่กับอารมณ์ จดจ่อ คือเกาะติด อารมณ์ไป เพ่งนี่นะ ห่างแค่ไหน เวลาเราเพ่ง เพ่งสิ่งของนี่นะ สิ่งของกับตาเราอยู่ห่างกันแค่ไหน...ห่างนะ เอ่อ!ห่างพอประมาณ พอเห็นได้ แล้วก็เพ่งอยู่นั่นน่ะ
ตัวนี้แหละที่บอก บางครั้งเราเพ่ง ๆ ตรงนี้นะถามว่า บางทีเขาก็ใช้กับการเจริญกรรมฐานเหมือนกัน คือ เพ่งกสิณ เพ่งจนให้เป็นนิมิตติดตา เพ่งนิ่ง ๆ ๆ จนสมาธิมากขึ้น จนนิมิตนั้นติดตา เป็นอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ นิมิตนั้นติดอยู่ในใจ พอติดอยู่ในใจ แล้วก็ขยายนิมิตนั้นได้ ขยายอะไร ขยายจิตนั่นแหละ ขยายจิตเรากว้างขึ้น นิมิตก็จะกว้างขึ้น เห็นไหม นี่คือการเพ่งจนมีสมาธิมากขึ้น แต่วิปัสสนานี่นะ เวลาเรา ปฏิบัติปึ๊บ เราเคยจ้อง เห็นไหมเพ่งกะจ้องนี่นะต่างกัน ตรงไหนอีก เพราะโยคีจะรู้สึกว่า เวลาที่ไปรู้อาการ ให้ชัด กลัวตัวเองจะจ้องอาการ กลัวจะเป็นเพียงผู้จ้องอาการ อันนี้อย่างหนึ่งนะ