Page 6 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การน้อมพลังบุญเพื่อการอธิฐานจิต
P. 6

812
แต่ถ้าไม่สังเกตหรือไม่สนใจบรรยากาศ สังเกตแต่อาการอย่างเดียว แล้วถ้าเผลอมีตัวตนขึ้นมา จะเหนอื่ ยแลว้ จะรสู้ กึ หนกั แตถ่ า้ ไมม่ ตี วั ตนจะรสู้ กึ วา่ อาการเหนอื่ ยจะนอ้ ยหรอื ไมค่ อ่ ยเหนอื่ ย ยงิ่ ขดั ยงิ่ เบา ยิ่งตื่นตัวยิ่งผ่องใสขึ้นมา ในการกาหนดอิริยาบถย่อย การสังเกตถึงความไม่มีตัวตนบ่อย ๆ มันจะเกิด ความชานาญหรือความเคยชิน ต่อไปในอิริยาบถทั่วไปในชีวิตประจาวันของเรามันก็จะเป็นไปในลักษณะ อย่างนี้ จะเป็นคนถนัดหรือเคยชินในการดูสภาพจิตตัวเอง อะไรขึ้นมาก็จะเริ่มจากสภาพจิตก่อนเสมอว่า สภาพจิตตอนนี้เป็นอย่างไร พอมีอารมณ์กระทบ-สภาพจิตเราเป็นยังไง ? พอเห็นภาพปึ๊บ-สภาพจิตเราเป็น ยังไง ? เรารับรู้ด้วยจิตประเภทไหน ? สภาพจิตที่รับรู้เป็นยังไง... มันเบา มันสงบ มันว่าง มันใส ?
ตรงนั้นแหละกลายเป็นว่าเรามีสติคอยสังเกตดูจิตของเรา ดูสภาพจิตอยู่เรื่อย ๆ และกลายเป็น ว่าการเจริญสติในชีวิตประจาวันเป็นเรื่องปกติของเรา เมื่อการเจริญสติในชีวิตประจาวันเป็นเรื่องปกติ ทีนี้ วนกลับมาอีก อาการเกิดดับที่ปรากฏเกิดขึ้นมาในชีวิตประจาวันที่เป็นปกติ เขาเปลี่ยนไปอย่างไร ต่างจาก เดิมอย่างไร ? ต่างจากเดิมทั้งอายุของอารมณ์ น้าหนักของอารมณ์ รสชาติของอารมณ์ อายุของอารมณ์ ตั้งอยู่นานยาวประมาณหนึ่งนาที ภายในหนึ่งนาทีนั้นมีน้าหนักเกิดขึ้น ครั้งแรกมีน้าหนักขนาดนี้ ขณะต่อ ไปอายุอารมณ์ยังยาวเท่าเดิมคือหนึ่งนาที แต่น้าหนักต่างจากเดิม คือเบากว่าเดิม บางกว่าเดิม ใสกว่าเดิม โปร่งกว่าเดิม หรือหนักมากกว่าเดิม ? อันนี้คือตัวความเปลี่ยน
ลักษณะของอารมณ์ที่เปลี่ยนไป ที่เบากว่าเดิมบางกว่าเดิม เป็นตัวบอกอะไร ? สภาพจิตเราเป็น อย่างไร...สภาพจิตเราละเอียดกว่าเดิมไหม จิตเราผ่องใสมากกว่าเดิมไหม ? ความมีตัวตนเป็นอย่างไร... น้อยกว่าเดิมอีกไหม ? ต้องสังเกตถึงความต่าง บางครั้งเวลามีความคิดเรื่องเดิมเกิดขึ้นมา รอบแรก หนัก รอบที่สอง-รอบที่สาม-รอบที่สี่พอคิดขึ้นมาอีก ไม่มีน้าหนักเลย มันรู้สึกว่าง ๆ เบา ๆ แต่ก็ยัง เข้าใจว่าไม่น่าจะเกิด พอมีความเข้าใจว่าไม่น่าจะเกิดเมื่อไหร่สิ่งที่ตามมาคือความเป็นเราทุกครั้งที่รู้สึกว่า ไม่น่าจะเกิด ไอ้ที่เกิดขึ้นมาเขาก็จะมีน้าหนัก แต่ถ้ารู้สึกว่าเขาเกิดใหม่ขึ้นมาแล้ว แต่เกิดอยู่ในที่ว่าง ๆ แล้ว ก็เบา ๆ แยกส่วนกันระหว่างอารมณ์กับความรู้สึกปึ๊บ ก็จะเห็นเลยว่าถึงเกิดใหม่ก็ไม่ทาให้กิเลสเกิด
สิ่งที่ตามมาอีกอย่างหนึ่งที่เราต้องสังเกตก็คือว่า เมื่ออารมณ์นั้นมีน้าหนักเบา มีความบางกว่าเดิม อายุเขายังเท่าเดิมอีกไหม... อายุอารมณ์ยังหนึ่งนาทีเท่าเดิม หรือน้อยลง น้อยลง... ? จากหนึ่งนาทีเหลือ สามสิบวินาที เหลือสองวินาที เหลือหนึ่งวินาทีก็ดับ แว็บดับ แว็บดับ... อันนี้คืออายุอารมณ์สั้นลง เพราะ ฉะนั้น ยิ่งอายุของอารมณ์เหล่านี้สั้นลง แล้วอะไรดีขึ้น ? สภาพจิตเราดีขึ้นหรือยัง ? สติเราดีขึ้นไหม ? สติ เราไวขึ้นกว่าเดิมไหม ? นี่คือจุดที่เราต้องสังเกต
“อิริยาบถย่อย” ไม่ใช่อารมณ์เดียว มีอารมณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นในอิริยาบถย่อย เพียงแต่ว่าเราเลือก ทีละอารมณ์ ให้ความสาคัญทีละอารมณ์ในขณะนั้น ๆ ในวันหนึ่ง ๆ เราอาจจะกาหนดอยู่สองอารมณ์ สามอารมณ์ก็ได้ หรือกาหนดแค่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งก็ได้ ทาบ่อย ๆ กาหนดซ้า ๆ แต่สิ่งที่ไม่ซ้าคือ สภาพจติ ใจของเรา หรอื สตขิ องเราเปลยี่ นไปอยา่ งไร นนั่ คอื ผลทตี่ ามมา เพราะฉะนนั้ การสงั เกตอาการเกดิ ดบั การเปลี่ยนแปลงของแต่ละอารมณ์ในอิริยาบถย่อยจึงเป็นส่วนสาคัญ เขาเรียกเป็นลักษณะของสภาวญาน ที่เกิดจากปัญญาของเรา


































































































   4   5   6   7   8