Page 21 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การพิจารณาหัวข้อธรรม
P. 21
881
เพราะฉะนั้น เราสามารถเอาอารมณ์ต่าง ๆ มาเป็นอารมณ์กรรมฐานได้อยู่เสมอตราบเท่าที่เรามีเจตนา และตามกาลังของเรา ว่าเรามีกาลังของสติ-สมาธิมากแค่ไหนเมื่อมีเจตนาที่จะเข้าไปรู้อาการเกิดดับ
การจะเห็นหรือไม่เห็นอาการเกิดดับก็ขึ้นอยู่กับกาลังของสติ สมาธิ ปัญญา และเรามีเจตนาที่จะรู้ อาการเกิดดับนั้นหรือเปล่า หรือมีแต่สติ สมาธิ แต่ไม่มีเจตนาที่จะรู้ถึงอาการพระไตรลักษณ์ ไม่มีเจตนา ที่จะรู้ถึงอาการเกิดดับของอารมณ์ต่าง ๆ แล้วปัญญาที่เห็นชัดถึงการเกิดดับจะเกิดขึ้นได้ไหม ? ย่อมไม่ เกิดขึ้น ก็ได้แต่อนุมานไป อันนั้นเขาเรียกว่าเป็นจินตะ เป็นตรรกะ เป็นการอนุมาน เพราะฉะนั้น วิปัสสนา เพื่อให้เห็นจริง จึงมีเจตนาที่จะรู้เพื่อให้เห็นด้วยตาปัญญาของเราเอง ที่อาจารย์พูดมาทั้งหมดนี่ ถ้าเราไม่ได้ ทาเราก็ไม่เห็น แต่ถ้าเราทาตามเราก็จะเห็นตามกาลังของเรา
ลองดูสิว่า ขณะที่กาลังนั่งอยู่นี้ มีอาการอะไรปรากฏขึ้นมาเฉพาะหน้าเรา ? เป็นสี เป็นแสง เป็น ความสว่าง เป็นจุดดา ๆ ที่เกิดขึ้นมาแล้วเปลี่ยนไป เป็นเงา ๆ แล้วเปลี่ยนไป หรือว่ากาหนดรู้อาการเกิดดับ ของเสียงอยู่ เสียงเกิดดับอย่างไร ? หรือว่ากาหนดรู้เวทนาอยู่ เวทนาที่กาลังปรากฏอยู่เป็นก้อน เป็นเส้น หรือเป็นจุดแปล๊บ ๆ เดี๋ยวแปล๊บตรงนั้นเดี๋ยวแปล๊บตรงนี้ หรือขณะนี้กาลังกาหนดดูอาการของลมหายใจ อาการพองยุบ สิ่งสาคัญก็คือว่าปัจจุบันขณะก็คือขณะนี้จริง ๆ เมื่อนาทีที่แล้วก็เป็นอดีตที่ผ่านไปแล้ว นาที ข้างหน้าก็เป็นเรื่องของอนาคต แต่ปัจจุบันสภาพจิตเราเป็นอย่างไร ? อาการของลมหายใจเป็นอย่างไร ? มี ความคิดเกิดขึ้นไหม ? ถ้ามีความคิดเกิดขึ้น ความคิดเกิดดับอย่างไร ?
อย่างที่บอกแล้วว่า ถ้าอยากให้การปฏิบัติมีการพัฒนาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ตามหลักของวิปัสสนาแล้ว การเจาะสภาวะจึงเป็นสิ่งสาคัญ การเจาะสภาวะเป็นสิ่งสาคัญ นั่นคือการเดินทาง ถ้าเราสังเกตดี ๆ เราจะ เห็นว่าทุกครั้งที่เราก็มุ่งไปที่อาการเกิดดับ เหมือนเราเดินทางตลอดเวลา อาการเกิดดับบางทีก็เกิดดับ แบบไกลไป ไกลไป... เราเดินตามไป ตามไป... พอไปทันปุ๊บ-ดับปุ๊บ สภาพจิตเปลี่ยนเป็นอีกบรรยากาศ หนึ่งเลย เปลี่ยนเป็นว่าง เบา โล่ง ใส เหมือนเดินทางไปถึงที่ไหนสักแห่งหนึ่ง ถึงแม้ว่าตัวเราจะนั่งนิ่งอยู่ กับที่ก็ตาม แต่จิตเดินทางไปสู่สถานที่ที่มีความสงบ ความอิสระ ความเป็นกุศลยิ่งขึ้นไป
ทาไมถึงบอกว่า การเดินทางไปสู่เป้าหมายเพื่อความดับทุกข์อย่างสิ้นเชิง จึงอาศัยการนั่งกรรมฐาน เป็นเบื้องต้น ? เพราะการนั่งทาให้อารมณ์ต่าง ๆ ลดลง ถ้าเรานั่งกรรมฐานได้ รู้หลักรู้แนวทางการปฏิบัติ ครูบาอาจารย์ก็จะให้เรากาหนดรู้อารมณ์ต่าง ๆ ทั้งหมด ทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะเป็นขณะยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทา พูด คิด อิริยาบถทั้งสี่บวกกับอิริยาบถย่อย ต้องอาศัยการกาหนดรู้อย่างต่อเนื่องแบบนั้น นี่คือ ความต่อเนื่องของสติ และในอิริยาบถย่อยถ้าเรากาหนดได้อย่างต่อเนื่อง มีบรรยากาศรองรับอยู่เนือง ๆ ก็ จะเกี่ยวข้องกับชีวิตประจาวันของเรา
เมอื่ เรามคี วามชา นาญในการทมี่ บี รรยากาศรองรบั ทา งานหรอื ทา อะไรอยใู่ นความวา่ ง ความเบา ความ สงบ พอทา ๆ ไป กส็ งั เกตดสู ภาพจติ มบี รรยากาศของความสขุ ความสงบ ความเบา ความวา่ งรองรบั อยเู่ ปน็ ระยะ ๆ กจ็ ะกลายเปน็ เรอื่ งปกตขิ องชวี ติ ทคี่ ลกุ คลอี ยกู่ บั ธรรมะ มกี ารใสใ่ จดกู ายดจู ติ ของตนเองเปน็ ระยะ ๆ ดูว่าสภาพจิตใจตอนนี้เป็นอย่างไร อาการทางกายเป็นอย่างไร เป็นการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจาวันโดย