Page 168 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การพิจารณาสภาวธรรม
P. 168

476
ไหนถึงกว้าง จิตเรา...เราแยกว่าขยายแล้วเขาเบาขึ้น ๆ ตรงความเบานี่แหละ เราจะรู้ว่า ความความรู้สึก ที่เบากับตัว อันไหนกว้างกว่ากัน อันนี้เราจะรู้ขอบเขต แต่ถ้าเรารู้ขอบเขตแบบนี้ เราสามารถให้ความรู้สึก ที่เบา กว้างไปเรื่อย ๆ ขยายออกไป ๆ ทั้งด้านข้าง ข้างบน ข้างหน้า ไปไกล ๆ
ลองดู ให้ความรู้สึกที่เบาไปห่าง ๆ ไปไกล ๆ มองไป ห่างไกลตัวออกไป จิตใจเรารู้สึกอย่างไร สบายขึ้นไหม เขาเบาขึ้นหรือเปล่า ตรงนี้แหละ ลองสังเกตดูจิตที่เบาขึ้น มีเราหรือเปล่า หรือแค่รู้สึกเบา เขาบอกว่าเป็นเราไหม หรือแค่รู้สึกเบา ๆ โล่ง ๆ ตรงนี้คือ เป็นการคลายอุปาทาน เป็นการลดตัวตน แล้ว ทีนี้พอมาที่ตัว ให้ทะลุไปข้างหลังได้ ความรู้สึกที่เบานี่นะ ไปข้างหลังให้หมด หรือให้ไกลออกไปอีก ไม่มี ขอบเขต ลองดูว่า ถ้าจิตยิ่งกว้างออกไปนะ รู้สึกเป็นอย่างไร
จิตที่เบาให้กว้าง ๆ ๆ ออกไป ยิ่งกว้างออกไป เท่าจักรวาลไปเลย ให้กว้างแบบนี้แหละ ตามดูจิต ที่ไกล ไม่ใช่ปล่อย ปล่อยไปเฉย ๆ นะ ขยายจิตที่เบาออกไป ดูว่าถ้าจิตใจ ความรู้สึกที่เบาเรากว้างออก ไปอีก รู้สึกเป็นอย่างไร เบาขึ้นไหม กว้างไปอีก ๆ ๆ กว้างรอบตัวไปทั้งหมดเลยนะ ลองดูว่ารู้สึกอย่างไร ตอนนี้ก็ย้อนกลับมาดู แล้วตัวที่นั่งอยู่ ขณะที่ใจเรากว้างไปทั้งหมด ตัวที่นั่งอยู่รู้สึก รู้สึกหนัก รู้สึกเบา ตัวว่าง ตัวโปร่ง ตัวโล่ง ๆ เบา ๆ หรือเป็นก้อน เป็นแท่งหนักอยู่ อันนี้คือสังเกตดู
การสารวจแบบนี้ เราจะเห็นว่า จิตที่เบากับตัว เขาเป็นส่วนเดียวกันไหม ขณะที่จิตเราเบา จิตที่เบา กว้างกว่า ใหญ่กว่าตัวนี่นะ ตรงนี้ที่บอกว่า ถ้าเขากว้างกว่าตัว ใหญ่กว่าตัว เขาเป็นส่วนเดียวกันหรือเปล่า ถ้าไม่ได้เป็นอันเดียวกัน แล้วตัวที่นั่งอยู่หนักหรือเบา อันนี้คือสังเกต นี่คือผลที่เกิดขึ้นโดยตรง การทาจิต ของเราให้กว้าง อีกอย่างหนึ่ง สังเกตต่อว่า จิตที่กว้างในความรู้สึกที่เบา ๆ ที่กว้างออกไป รู้สึกวุ่นวายหรือ สงบ รู้สึกวุ่นวายหรือรู้สึกว่าเขาสงบ เขาสบาย เขาเงียบ ๆ สงบสบาย ไม่วุ่นวาย
ต่ออีกนิดหนึ่งก็คือ สิ่งที่ควรสังเกตก็คือว่า ความรู้สึกที่เบาสบาย สามารถเคลื่อนย้ายที่ได้ไหม เคลื่อนย้ายที่ได้ไหม ทาไมต้องเคลื่อนย้ายที่ เพราะธรรมชาติของคนเรานะ ในชีวิตของคนเรา ต้องทาหน้าที่ รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ตลอดเวลา ที่ถามว่า ความรู้สึกที่เบา สามารถเคลื่อนย้ายที่ได้ไหม เราจะได้รับรู้ว่า เวลา ได้ยินเสียง ลองดู เวลาฟังเสียง เวลาได้ยินเสียง ให้ความรู้สึกที่เบา ๆ ไปรับรู้เสียง ความรู้สึกที่เบาไปรับรู้ เสียง ให้กว้างกว่าเสียง
ลองดูว่า เสียงที่ได้ยิน รู้สึกเป็นอย่างไร เข้ามากระทบที่หู กระทบที่ใจ หรือว่าเกิดอยู่ในที่ว่าง ๆ เกิด อยู่ในความโล่ง ความเบา และเสียงที่ได้ยิน รู้สึกหนักหรือเบา ฟังแบบนี้ จิตใจเรารู้สึกเป็นอย่างไร ขณะที่ เสียงเขาเกิดในที่ว่าง ๆ เบา ๆ ความรู้สึกที่เบา ให้กว้างกว่าเสียงที่ได้ยิน จริง ๆ เป็นอารมณ์หนึ่งที่เขาบอก ว่า การปฏิบัติธรรม ให้มีสติรู้อารมณ์ที่เข้ามากระทบ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เพื่อ ไม่ให้มีกิเลส หรือมีอกุศลเกิดขึ้น
เพราะฉะนั้น ถ้าได้ยินเสียง ถ้าให้ความรู้สึกที่เบากว้างกว่าเสียง กว้างกว่าเสียง แล้วเสียงนั้นทาให้ อกศุ ลจติ เกดิ ขนึ้ ไหม ทา ใหค้ วามทกุ ขเ์ กดิ ขนึ้ ไหม ถา้ สงั เกตดแู ลว้ เสยี งเขาไมร่ บกวน ไมก่ ระทบถงึ ใจ จติ ใจ


































































































   166   167   168   169   170