Page 37 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การพิจารณาสภาวธรรม
P. 37

345
แต่เมื่อเห็นอาการของความคิด เกิดดับเร็วแบบนี้ สิ่งที่สังเกตก็คือว่า สภาพจิตใจเป็นอย่างไร หรือ สติเราเป็นอย่างไรในขณะนั้น ขณะที่เห็นอาการเขาเกิดดับเร็ว ความคิดเกิดปุ๊บดับปั๊บทันทีนะ จิตเราตอน นั้นรู้สึกอย่างไร มีความตั้งมั่น มีความตื่นตัว มีความผ่องใส หรือว่านิ่ง ๆ เรื่อย ๆ เฉย ๆ เฉื่อย ๆ ไป การ สังเกตแบบนี้เราจะเห็นถึงสภาวะที่เกิดขึ้น มีอารมณ์ให้เราตามรู้อยู่ เราจะรู้ชัดถึงเหตุ เหตุที่ทาให้สภาวะ เปลี่ยนไป เหตุที่ทาให้อาการเกิดดับต่างไป เพราะสติ สมาธิของเรา มีกาลังต่างกันอย่างไร ในแต่ละขณะ ในแต่ละขณะ
ตรงนี้แหละรู้ถึงเหตุ ทาไมอาการเกิดดับของรูปนาม อาการพระไตรลักษณ์ต่าง ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นใน ชีวิตของเรา อารมณ์ที่เข้ามากระทบเราทุกวัน ๆ ทาไมดับเร็ว ทาไมดับช้า บางครั้งดับเร็ว บางครั้งดับช้า ไม่ใช่เพราะว่าอยู่ที่เขาพอใจ ที่จะดับเร็วหรือช้า แต่ขึ้นอยู่กับกาลังของสติสมาธิปัญญาของเรา ว่าเข้าไปเห็น ในลักษณะอย่างไร มีกาลังแก่กล้าแค่ไหน ถึงจะเห็นอายุอารมณ์ของเขาดับอย่างไร เพราะธรรมชาติของ อารมณต์ า่ ง ๆ ของรปู นามของเรา เกดิ ดบั เปน็ ปกตติ ามจงั หวะของเขา แมแ้ ตจ่ ติ ของเรากเ็ กดิ ดบั ตามจงั หวะ ตามกาลังของเขา อารมณ์ ภาพที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่นที่สัมผัส กลิ่นที่เข้ามากระทบ ก็เป็นไปในลักษณะ เดียวกัน เพียงแต่ว่า ขึ้นอยู่กับกาลังของสติสมาธิปัญญาของเรา ว่ามีความแยบคายมีความละเอียดอ่อน มีความแก่กล้ามากเท่าไหร่ เท่านั้นเอง
เพราะฉะนนั้ การเหน็ แบบนี้ และการทเี่ ราสนใจในอาการเกดิ ดบั แบบนี้ จะทา ใหส้ ตเิ รามคี วามตงั้ มนั่ แก่กล้าขึ้น สมาธิตั้งมั่นขึ้น สติแก่กล้าขึ้น ปัญญาเฉียบแหลมมากขึ้น ก็จะเห็นสภาวธรรมอาการเกิดดับ มีความชัดเจนมากขึ้น แล้วถ้าสภาวะยิ่งละเอียดมากเท่าไหร่ อาการดับเขาก็จะยิ่งเร็วยิ่งเบาบาง ของ ละเอียดของเบาบางเขาก็เกิดขึ้นแล้วก็ดับเร็ว ดับไปหายไป เกิดใหม่เปลี่ยนไปตลอดเวลา เขาก็เกิดดับเร็ว อันไหนที่เป็นของหยาบก็ดับช้าหน่อย แต่ด้วยสติสมาธิปัญญาของเรา เมื่อไปรู้ที่รายละเอียด ไปดูที่จุดที่ ละเอียดที่สุด เราก็จะเห็นเขาดับเร็วขึ้น เหมือนกับการที่เรารับรู้บัญญัติ บัญญัติต่าง ๆ ความเป็นกลุ่มก้อน ต่าง ๆ เขาก็ดับช้า
แต่ถ้าเข้าไปรู้ปรมัตถ์ ไปรู้ปรมัตถ์เข้าถึงปรมัตถ์เมื่อไหร่ อาการเกิดดับเขาก็จะดับเร็ว เพราะฉะนั้น การที่จะเข้าสู่ปรมัตถ์ได้ง่าย เราก็ดูสภาพจิต ดูที่จิตที่ทาหน้าที่รู้อีกทีหนึ่ง ดูว่าเขาเกิดพอไปดูที่จิต หรือที่ ความรู้สึกที่ทาหน้าที่รู้อารมณ์ต่าง ๆ พอไปดูที่จิตดูที่ความรู้สึก ความรู้สึกดับจิตดับ อารมณ์ก็เปลี่ยนก็ดับ เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นเพื่อความต่อเนื่องนะ เรารู้ทีละอย่าง อาจารย์พูดหลายอารมณ์เข้ามาเพื่อให้เห็น ชัดว่า ไม่ว่าอารมณ์ไหนก็ตาม เราก็ต้องกาหนดรู้ เข้าไปดูว่าเขามีการเกิดดับอย่างไร แต่ในขณะเดียวกัน ในการปฏิบัติเราต้องเลือกทีละขณะ ทีละอย่างทีละอารมณ์ในแต่ละขณะไป อย่างเช่นตามกาหนดรู้เสียง ก็เอาเสียงมาเป็นอารมณ์หลักอย่างเดียวไปเลยในบัลลังก์นั้น
จนกว่าจะมีอารมณ์อื่นแทรกเข้ามา เขาเรียกอารมณ์จรแทรก ที่มีความชัดเจนเกิดขึ้น เราก็ เปลี่ยนได้ เปลี่ยนไปกาหนดอารมณ์จรก่อน พออารมณ์จรหมดก็กลับมากาหนดอารมณ์หลักต่อ จะทาให้ เรากาหนดอารมณ์ได้อย่างต่อเนื่อง เพราะการกาหนดต่อเนื่อง จะทาให้สติสมาธิปัญญาเราแก่กล้าขึ้น มี


































































































   35   36   37   38   39