Page 70 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การพิจารณาสภาวธรรม
P. 70
378
ความเป็นอนัตตา เป็นการกาหนดรู้ถึงความจริงของรูปนาม ขันธ์ ๕ ที่ย่อลงมา เหลือแต่รูปกับนาม เหลือ แต่กายกับใจ
พอเหลือแต่กายกับใจ หรือเหลือแต่กายกับจิต ดูอีกจิตกับกายเขาเป็นคนละส่วนกัน พอเห็นเป็น คนละส่วนกัน จิตรู้สึกโล่ง โปร่ง เบา ว่างขึ้นมา ถามว่าจิตที่โล่ง ที่โปร่ง ที่ว่างเบานี่นะ เป็นที่พึ่งไหม เกิด ขึ้นมาแล้วรู้สึกอย่างไร นั่นแหละมีธรรมะเป็นที่พ่ึง ธรรมะคือปัญญา ที่พิจารณาเห็นความจริงข้อนี้ และ เข้าถึงความจริงแบบนี้ เพราะฉะนั้น จึงให้พิจารณาว่าการเจริญกรรมฐานนี่นะ วิปัสสนากรรมฐานที่เรา แยกรูปแยกนาม ตั้งแต่วันแรกที่อาจารย์พูดแล้ว พอแยกรูปแยกนามได้นี่นะ เราเห็นจิตกับกายเป็น คนละส่วนกัน ที่สาคัญก็คือว่า จิตที่ว่าง จิตที่เบา จิตที่สงบ จิตที่โล่งนี่นะ กับกายเป็นคนละส่วนกัน
ทาไมถึงเน้นตรงนี้ เพราะว่าถ้าแค่ว่าง ๆ ๆ แล้ว ไม่รู้ว่าว่าง ๆ อะไรว่างไม่รู้ พอว่าง ๆ จนแยกไม่ ออกว่า ตอนนี้จิตอยู่ที่กาย เป็นส่วนเดียวกับกาย เป็นส่วนเดียวกับรูปหรือเปล่าก็ไม่รู้ รู้แต่มันว่าง ๆ แต่ถ้า เรารู้สึกว่าเห็นชัด เมื่อแยกจิตยกจิตขึ้นสู่ความว่าง แล้วจิตรู้สึกโล่ง รู้สึกเบา รู้สึกสงบ รู้สึกหนักแน่น รู้สึก มั่นคง รู้สึกสว่าง แล้วเรารู้สึกว่าจิตที่โล่ง ที่เบาหรือสงบนี่นะ กว้างกว่าตัว สังเกตนะ เริ่มเห็นถึงความ... ถ้าเห็นว่าจิตที่โล่งที่เบากว้างกว่าตัว ตรงนี้...การเห็นถึงความเป็นคนละส่วนจะชัดเจน แต่ถ้ารู้สึกว่า ไม่เห็นว่ากว้างหรือแคบนะ เราก็จะแยกไม่ชัดอีก
แต่พอเริ่มแยกรูปนามแบบนี้ทุกครั้งนี่นะ พอเราสังเกตจับที่ความรู้สึก จับที่ความรู้สึกได้เลย ดู ที่จิต เห็นจิตมันเบาสงบแล้วก็กว้าง เห็นจิตที่เบาสงบแล้วก็กว้างกว่าตัว ยังไม่ต้องยกจิตเลย พอดูมันก็ ว่างแล้ว นั่นคือการยกจิตโดยปริยาย การยกจิตขึ้นสู่ความว่าง ไม่ใช่ว่ายกจิตขึ้นสู่เหนือหัวอย่างเดียว ไม่ใช่อยู่ข้างบนศีรษะ แต่การที่ทาจิตให้ว่าง เข้าสู่ความว่างนั้นได้ทันที เพราะฉะนั้นการแยกรูปนามแบบนี้ เราสังเกตเห็นว่า กายกับจิตเป็นคนละส่วนกัน
พอเห็นเป็นคนละส่วน อาจารย์จึงถามว่า พอเห็นเป็นคนละส่วนแบบนี้แล้ว จิตใจรู้สึกอย่างไร ตรง นี้ที่ถาม เพราะว่า บางครั้งการแยกรูปนาม แยกกายแยกจิต รู้เป็นคนละส่วนกันแล้ว ถามว่ารู้สึกอย่างไร เฉย ๆ นั่นคือไม่ได้ดูสภาพจิต แต่คิดว่า...บางครั้งกลายเป็นการคิดว่า... เพราะเราไม่ให้ความสาคัญ ก็เลย รู้สึกเฉย ๆ แยกได้ก็เฉย ๆ มันสบายก็เฉย ๆ สุขก็เฉย ๆ สังเกตไหมว่า พอแยกรูปนาม รู้สึกเบา แล้วก็ บอกว่าเฉย ๆ เฉย ๆ นี่นะ เป็นเพราะจิตเขาเฉย ๆ หรือเพราะว่าเราให้ความรู้สึกเฉย ๆ กับเรื่องนั้น เราไม่ ให้ความสาคัญกับจิตที่เบา
เพราะจิตที่เขาเบาอย่างไรก็เบา จิตที่สุขถ้าเกิดขึ้นอย่างไรก็สุข ไม่เกี่ยวกับเราชอบหรือไม่ชอบ จะ เฉยหรือไม่เฉยอยู่ที่เรารู้ความสาคัญว่า จิตที่ว่างเขาดีอย่างไร เพราะนั้นจิตที่ว่างที่เบาจึงบอก... จิตที่ว่างที่ เบา ถ้าให้กว้างออกไปอีก ให้กว้างออกไปอีก รู้สึกเป็นอย่างไร เขาเบากว่าเดิม โล่งกว่าเดิมไหม ถ้าเขากว้าง ขึ้นกว่าเดิม ตรงนี้คือการสังเกตชัดขึ้นอีกว่า ยิ่งกว้างขึ้น...พอย้อนกลับมายิ่งเห็นชัดเลยว่า จิตกับกายนี่เป็น คนละส่วนกันชัดเจน คาถามก็คือว่า เห็นแบบนี้แล้ว ตรงไหนที่บอกว่าเป็นเรา