Page 241 - การให้รหัสโรค
P. 241

230




                      ICD-11

                             ชาติสมาชิกองค์การอนามัยโลกลงมติรับรองบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรค

                      และปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องฉบับที่ 11 (ICD-11) ให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2565 ในการ
                      ประชุมสมัชชาอนามัยโลกครั้งที่ 72 ระหว่างวันที่ 20-28 พฤษภาคม 2562 ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
                      นั้น มีรายงานว่าเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2562 ชาติสมาชิกองค์การอนามัยโลกได้ลงมติรับรองบัญชี
                      จำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องฉบับที่ 11 (ICD-11) ให้มีผล
                      บังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2565

                             บัญชี ICD เป็นพนฐานสำหรับการประเมินแนวโน้มและสถิติด้านสุขภาพในระดับโลก และ
                                           ื้
                      เป็นมาตรฐานสากลสำหรับการรายงานโรคหรือปัญหาสุขภาพ นอกจากนี้บัญชี ICD ยังเป็นมาตรฐาน
                                     ื่
                      การจำแนกโรคเพอวัตถุประสงค์ทางคลินิกและการศึกษาวิจัยโดยใช้ระบุโรค ความผิดปกติ อาการ
                      บาดเจ็บ และปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง บัญชี ICD ยังครอบคลุมถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพ (รวมถึง
                      ปัจจัยภายนอกที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตหรือการเจ็บป่วย) จึงทำให้สามารถมองเห็นสิ่งที่จะส่งผล
                      กระทบต่อสุขภาพได้ทุกแง่มุม
                             การศึกษาสาเหตุของการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตเป็นหัวใจสำคัญของการประเมินแนวโน้ม

                                                                                                        ื่
                      ของโรคและการแพร่ระบาด กำหนดบริการสุขภาพ จัดสรรงบประมาณสาธารณสุข และลงทุนเพอ
                      ยกระดับการรักษาและป้องกันโรค ทำให้ปัจจุบันบัญชี ICD-11 มีบทบาททั้งในการบันทึกเวชระเบียน
                      บริการสาธารณสุขมูลฐาน ความปลอดภัยของผู้ป่วย การดื้อยาต้านจุลชีพ การจัดสรรทรัพยากร การ
                      เบิกจ่ายค่ารักษา ส่วนผสมของผู้ป่วยนอกเหนือจากสถิติการเสียชีวิตและการเจ็บป่วย

                             บัญชี ICD-11 ผ่านการปรับปรุงให้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 โดยสะท้อนความก้าวหน้า
                      อย่างมีนัยสำคัญในด้านวิทยาศาสตร์และแพทยศาสตร์ บัญชี ICD-11 ฉบับล่าสุดได้ปรับปรุงให้เป็น
                             ิ
                                                ื่
                                                                               ี
                      ระบบอเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดเพอให้สามารถบันทึกข้อมูลได้โดยละเอยด มีการเพมเติมชื่อโรคในกลุ่ม
                                                                                         ิ่
                      ต่าง ๆ เพมมากขึ้นเป็น 55,000 ชื่อ จากเดิมซึ่งมีอยู่เพยง 14,400 ชื่อ รวมถึงการปรับปรุงใหม่ ๆ
                                                                     ี
                               ิ่
                        ิ่
                      เพมขึ้นมากมาย ระบบอเล็กทรอนิกส์ยังส่งผลให้การบันทึกและนำข้อมูลไปใช้ทำได้อย่างง่ายดายซึ่ง
                                           ิ
                      นำไปสู่การลดความผิดพลาดและต้นทุน ขณะเดียวกันก็เปิดทางให้เข้าถึงระบบข้อมูลได้มากขึ้น
                      โดยเฉพาะในพื้นที่ขาดแคลนทรัพยากร

                      สรุป

                             ระบบมาตรฐานคำศัพท์แพทย์สากล ที่ใช้ทางคลินิก หรือ Systematized Nomenclature
                      of Medicine- Clinical Terms (SNOMED CT) เป็นระบบมาตรฐานศัพท์ทางการแพทย์สากล ที่มี

                      ความสมบูรณ์มากที่สุดในปัจจุบันที่ใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ (e Clinical Terms) นอกเหนือจากส่วนที่
                                                 ั
                                                                       ั
                      นำมาใช้เป็นฐานความรู้ ในการพฒนารหัสยา อาจนำไปใช้พฒนาระบบข้อมูลเวชภัณฑ์ เครื่องมือ และ
                       ุ
                      อปกรณ์ทางการแพทย์ สามารถนำไปใช้ในการเก็บบันทึกข้อมูลทางคลินิก เป็นประโยชน์ในด้านการ
                      บริการ งานวิจัย ช่วยการตัดสินใจ (Clinical Decision Support) การควบคุมการใช้ทรัพยากร
                      เสริมสร้างระบบความปลอดภัยในการให้บริการ (Patient Safety) สามารถเชื่อมโยงกับรหัสมาตรฐาน
                      ที่ใช้กับการวินิจฉัยโรค (ICD-10) และรหัสหัตถการ (ICD- 9- CM) ที่ใช้กันแพร่หลายในประเทศไทย





                        HM 4633 การให้รหัสโรค ดร.อมรรัตน์ ลือนาม คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
   236   237   238   239   240   241   242   243   244   245   246