Page 269 - การให้รหัสโรค
P. 269
258
ี้
ประการ กล่าวคือ อาจมีผลทําให้ระบบข้อมูลสถิติการตาย บิดเบี้ยวและผิดเพยนไปได้มากจนอาจทํา
ี
ให้ข้อมูลเชื่อถือไม่ได้เลย อกประการหนึ่ง หากโรคที่มิได้บันทึกไว้เหล่านั้น เป็นโรคติดต่อร้ายแรง ซึ่ง
ญาติควรตระหนักว่า ตัวเขาเองและคนใกล้ชิดมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเหล่านั้นเช่นกัน เช่น ภรรยา
และบุตรที่ต้องรับเชื้อ HIV จากสามี เพราะญาติ ๆ ปกปิดปัญหาเอาไว้ ในฐานะที่เราเป็นแพทย์ผู้รักษา
ึ
พงระลึกว่า การทําตามความต้องการของญาติ โดยมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไปถึงผู้อน ย่อมผิด
ื่
จริยธรรมเช่นกัน
กรณีการขอรับสินไหมจากบริษัทประกันชีวิต ตามปกติ บริษัทประกันชีวิต จะไม่นําสาเหตุ
ื่
ี
การตายจากมรณบัตรเป็นหลักฐานเพอจ่ายค่าสินไหมทดแทน แต่เพยงแหล่งเดียว บริษัทฯ จะมี
แบบฟอร์มการบันทึกข้อมูลผู้ตายจัดส่งมาให้แก่แพทย์ผู้รักษาเพอทําการบันทึกประวัติอย่างละเอยด
ี
ื่
ื่
และต้องนําส่งบริษัทฯ เพอผ่านการพิจารณาโดยแพทย์ประจําบริษัทฯนั้นๆ ในเรื่องนี้ แพทย์ควรชี้แจง
ให้ญาติทราบถึงขั้นตอนการรับสินไหมทดแทน และเพื่อมิให้การบันทึกในมรณบัตรกลายเป็นความเท็จ
ก็ควรระบุให้ตรงกับประวัติการรักษาพยาบาลที่มีอยู่
กรณีปัญหาที่ 4 ความเห็นไม่ตรงกันกับแพทย์คนอื่น
บ่อยครั้งที่แพทย์หลายคน อาจมีความเห็นต่อการดําเนินโรคและสาเหตุการตาย ไม่เหมือนกัน
เห็นได้จาก การตายรายเดียวถ้าให้แพทย์สรุปหนังสือรับรองการตายหลายคน อาจได้ข้อสรุปที่ไม่
เหมือนกัน ทั้งนี้เป็นเพราะความแตกต่างกันในแง่พนความรู้ ความเชี่ยวชาญชํานาญเฉพาะด้าน
ื้
ประสบการณ์ และแนวคิดที่ต่างกัน ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ปกติทางด้านวิชาการ
สรุป
การรับรองสาเหตุการตายเป็นหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของแพทย์ โดยหลังจากผู้ป่วยเสียชีวิต
แพทย์จะต้องบันทึกชื่อโรคที่เป็นสาเหตุการตายลงในหนังสือรับรองการตาย ญาติผู้ตายก็จะใช้หนังสือ
รับรองการตายไปติดต่อแจ้งการตายกับนายทะเบียนท้องถิ่น ซึ่งจะเก็บหนังสือรับรองการตายไว้ และ
ออกมรณบัตรเป็นหลักฐานให้แทน ข้อมูลจากหนังสือรับรองการตายจะถูกบันทึกลงในฐานข้อมูลการ
ื่
ตายของกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงสาธารณสุขเพอวิเคราะห์ข้อมูลสถิติการตาย มีประโยชน์ใน
การค้นหาปัญหาสาธารณสุข
แบบฝึกหัดท้ายบท
1. อธิบายความหมายของสาเหตุการตาย
2. อธิบายรูปแบบการตายและสาเหตุการตาย
HM 4633 การให้รหัสโรค ดร.อมรรัตน์ ลือนาม คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ