Page 62 - หนังสือมรดกภูมิปัญญา
P. 62

แหล่งโบราณคดีโนนค้อ หมู่ที่ ๑๔ ตาบลนาทัน อาเภอคาม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ อยู่ในแอ่ง โคราชคอนบน ตอนกลางของที่ราบสูงโคราช มีเทือกเขาภูพานเป็นแนวกั้นจากแอ่งสกลนครหรือ เขตที่ราบสูงโคราชตอนบน เป็นบริเวณที่พบแหล่งโบราณคดียุคเดียวกับบ้านเชียงกระจายตัวอยู่ มาก แหล่งโบราณคดีโนนค้อนับเป็นศูนย์กลางการคมนาคม จากที่ตั้งอยู่ในแนวเส้นทางการ คมนาคมทั้งทางบกและทางน้า เชื่อมต่อระหว่างชุมชนวัฒนธรรมร่วมแบบบ้านเชียงกับกลุ่ม วัฒนธรรมลุ่มแม่น้าชีในแอ่งโคราชตอนบน จากการศึกษาของนักโบราณคดีพบหลักฐานในช่วงยุค ก่อนประวัติศาสตร์ เช่น เครื่องมือหินกะเทาะและภาพเขียนสี แสดงถึงการอยู่อาศัยของมนุษย์ สมัยหินกลางหรือสมัยไพลโตซีนตอนปลาย - โฮโลซีนตอนกลาง
การขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ ๒,๐๐๐ ปี
ที่มาภาพจาก: https://mgronline.com/local/detail/9520000133480
สมัยประวัติศาสตร์ อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๗ – ๑๒ ระยะนี้รู้จักการผลิตเครื่องมือ เครื่องใช้จากเหล็ก ผลิตเครื่องประดับสาริดตลอดจนผลิตภาชนะดินเผารูปแบบต่าง ๆ พบพิธีการ ปลงศพที่เดิมใช้วิธีฝังยาวมาเป็นการฝังโดยบรรจุกระดูกบางส่วนโดยไม่ผ่านการเผาลงในภาชนะ ดินเผา สมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖) โดยพบเครื่องมือเหล็ก เครื่องประดับสาริด ประเภทแหวน กาไล ลูกกระพรวน นอกจากนั้นยังพบลูกปัดแก้วสีเขียวอมฟ้า รวมทั้งลูกปัดหินอะ เกต และหินคาร์เนเลียน ส่วนภาชนะดินเผาส่วนใหญ่จะเป็นหม้อมีสัน กาน้า (หม้อมีพวย) ตะคัน ตลอดจนได้พบแวดินเผา (อุปกรณ์ทอผ้าโบราณ) และเบี้ยดินเผาแบบต่าง ๆ อีกหนึ่งสถานที่ สาคัญทางโบราณคดีที่พิพิธภัณฑ์เมืองฟ้าแดด อาเภอกมลาไสย ที่พบโบราณวัตถุสาคัญในสมัย ทวารวดี ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองฟ้าแดดสงยางหรือฟ้าแดดสูงยาง เมืองโบราณอายุกว่าพันปี พบใบ เสมาหินทรายจานวนมากอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชุมชนทวารวดีในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือที่ภาคกลางซึ่งส่วนใหญ่จะพบธรรมจักรหรือพระพุทธรูปมากกว่า และพบ พระพิมพ์ดินเผา เอกลักษณ์พิเศษของลุ่มน้าชี ที่ไม่ปรากฏในบริเวณลุ่มแม่น้าเจ้าพระยา อาจ กล่าวได้ว่า ชุมชนสมัยทวารวดีในบริเวณนี้โดดเด่นและมีความสาคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งก็ ว่าได้ สะท้อนอารยธรรมโบราณของมนุษย์ยุคประวัติศาสตร์ที่พบกระจายอยู่ทั่วไปในชุมชน บริเวณนี้
๕๕
  





























































































   60   61   62   63   64