Page 10 - อนาคตทิศทางงานวิจัย
P. 10

10

              ย้อนไปเมื่อ 60 ปีก่อน (พ.ศ. 2500) ประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมหรือ Gross
       Domestic Product (GDP) มูลค่า 60,000 ล้านบาท โดยร้อยละ 40 มาจากภาคการเกษตร
       ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศประกอบอาชีพในภาคเกษตกรรม แต่ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2560)
       หากจะกล่าวว่าประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม อาจจะไม่ถูกต้องหากอ้างอิงข้อมูลเชิง
       เศรษฐกิจ  เนื่องจากGDP จาก “ภาคการเกษตร” ลดลงเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับ GDP “นอกภาค
       การเกษตร”โดยในปี พ.ศ. 2558 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศนอกภาคการเกษตรมีมูลค่า ถึง
       12,299,944 ล้านบาท หรือคิดเป็น 90.86% ของจีดีพีทั้งประเทศส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมใน
       ประเทศที่มาจากภาคการเกษตรมีมูลค่าอยู่ที่ 1,237,541 ล้านบาท คิดเป็น 9.14%ของจีดีพี
       ทั้งประเทศและมีมูลค่าลดลงจาก 4 ปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ -5.6 (ภาพ 1)

              ในขณะที่ผลิตภัณฑ์มวลรวม
       ภายในประเทศนอกภาคการเกษตร เช่น
       อสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจโรงแรม ภัตตาคาร
       ธุรกิจด้านสุขภาพ สถาบันการเงิน การขนส่ง
       และอุตสาหกรรม ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี ส่ง
       ผลให้ GDP ภาคบริการมีสัดส่วนอยู่ถึงร้อย
       ละ 52ของจีดีพีทั้งประเทศ  และมีการจ้าง
       งานในภาคดังกล่าวสูงถึงร้อยละ 49 ของการ
       จ้างงานรวมแต่ก็ยังไม่สามารถเทียบเท่ากับ
       ประเทศที่พัฒนาแล้วที่ใช้ภาคบริการเป็นแรง
       ขับเคลื่อนหลักของระบบเศรษฐกิจตัวอย่าง
       เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ที่มี
       สัดส่วนของภาคบริการสูงถึงร้อยละ 70-80
       ของจีดีพีทั้งประเทศ  (วินัสยา, 2558) ดังนั้น
       เราจึงสามารถกล่าวได้ว่า
                     “ขณะนี้ประเทศไทยมีภาคบริการ

         เป็นแรงขับเคลื่อนหลักของระบบเศรษฐกิจประเทศ”


              เมื่อสถาณการณ์ปรับเปลี่ยน ประชากรประกอบอาชีพในภาคการเกษตรลดลง พื้นที่
       ท�าการเกษตรลดลง ดังนั้นยุทธศาสตร์ของประเทศที่ส�าคัญคือ เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
       วัตถุดิบในพื้นที่และแรงงานที่มีอยู่อย่างจ�ากัด ตลอดจนพัฒนาเทคโนโลยีสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ
       สินค้าเกษตรของไทย เพื่อเพิ่มชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตกรไทยและยกระดับรายได้คนใน
       ประเทศ สภาวะนี้ได้เกิดขึ้นกับประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่นที่มีพื้นที่ท�าการ
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15