Page 3 - อนาคตทิศทางงานวิจัย
P. 3

ข
                                      ค�าน�า



              ประเทศไทยเป็นประเทศส่งออกสินค้าเกษตรที่ส�าคัญของโลก โดยส่งออกผลิตผลการเกษตร
       ปฐมภูมิในปริมาณมากทุกปี  และยังเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรส�าคัญของโลก เช่น ข้าว ยางพารา อ้อย
       และมันส�าปะหลัง โดยเฉลี่ยแล้วผลิตผลทางการเกษตรของไทยกว่าร้อยละ 41 เพื่อการส่งออก โดยตลาด
       หลักการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2553-2558) พึ่งพิงอยู่กับประเทศจีน
       ค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นข้าว ยางพารา แป้งมันจากมันส�าปะหลัง อย่างไรก็ตามเนื่องจากสินค้าเกษตรมี
       ราคาต่อตันค่อนข้างต�่า เกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศมีฐานะยากจน ปัญหาหนี้สิน และขาดทักษะการ
       ใช้ประโยชน์ของพื้นที่เพาะปลูกอย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นโดยมีต้นทุนการผลิต
       ที่ลดลง ภาคเกษตรของไทยยังมีความสามารถในการแข่งขันค่อนข้างต�่าและมีการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน จาก
       สภาวะข้างต้นท�าให้เกษตรกรของไทยส่วนใหญ่อยู่ในสภาพอ่อนแอ ต้องพึ่งพาธรรมชาติ สภาวะอากาศ
       และความช่วยเหลือจากภาครัฐ
              และด้วยปัญหาพื้นที่การเพาะปลูกที่ลดลง ประชากรไทยในสังคมปัจจุบันสนใจประกอบอาชีพ
       เกษตรกรลดลง ดังนั้นระบบเกษตร ต้นน�้า กลางน�้า และปลายน�้าที่มีประสิทธิภาพจึงมีความจ�าเป็น เพื่อ
       เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศและท�าให้รายได้ต่อหัวของประชากรเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม
       การศึกษาเทคโนโลยีที่ใช้ในด้านการผลิตและการแปรรูปสินค้าเกษตรยังมีอยู่น้อยมาก ทั้งๆ ที่มีนักวิจัย
       ที่มีคุณภาพอยู่ในภาครัฐและงบวิจัยในการพัฒนาทุกปี โดยเฉพาะการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางด้าน
       เกษตรกรรมแต่ละตัวในแง่ การผลิต การแปรรูป และการตลาดของสินค้า เพราะเกษตรกรรมเป็นหัวใจ
       ส�าคัญของการด�ารงชีวิตและความเป็นดีอยู่ดีของประชากรไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยด้าน
       วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะต้องร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและภาคเอกชนในการพัฒนากลไกการจัด
       จ�าหน่ายและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ทางเกษตรไปสู่อุตสาหกรรมแปรรูปเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน
       ของประเทศการจะเพิ่มรายได้สุทธิของเกษตรกรนั้น ต้องปรับบทบาทเป็นเกษตรกรชาญฉลาด (Smart
       farmer) และเป็นผู้ประกอบการเกษตรที่ประสบความส�าเร็จ (Successful farm entrepreneurs)
              คู่มือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “แนวทางในการวางกลยุทธ์งานวิจัยสินค้าเกษตร
       ส่งออก 4 อันดับของไทย สู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและศักยภาพการแข่งขันของประเทศ”
       เพื่อสะท้อนให้เห็นปัญหาของการขาดแคลนงานวิจัยที่ตอบสนองต่อปัญหาของระบบเกษตรในปัจจุบัน
       และแนวโน้มเทคโนโลยีที่ประเทศคู่แข่ง คู่ค้า ผู้ถือครองทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการ
       ศึกษาวิจัย การผลิตวัตถุดิบ และการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ ข้าว ยางพารา อ้อย และมัน
       ส�าปะหลัง เพื่อประกอบการตัดสินใจในการด�าเนินนโยบายสาธารณะและก�าหนดทิศทางงานวิจัยใน
       อนาคตเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการยกระดับเกษตรกรรมแบบไทยดั้งเดิม เพิ่มมูลค่า สู่อุตสาหกรรม
       ยุคใหม่ในเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล

                                        รองศาสตราจารย์ ดร. ภาณุวรรณ   จันทวรรณกูร
                   รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
   1   2   3   4   5   6   7   8