Page 7 - ประวัติแรกตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์
P. 7

คณะกรรมการทั้ง 2 ชุด คือ คณะกรรมการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์
             และคณะอนุกรรมการร่างหลักสูตรฯ ได้มีการประชุมกันอย่างต่อเนื่อง และ
             มีความก้าวหน้าเป็นอย่างดี ทางมหาวิทยาลัยให้การสนับสนุนในการจัดขอ
             งบประมาณแผ่นดินมาเริ่มด�าเนินการ ได้มีการพิจารณาสถานที่ที่จะใช้ใน
             การก่อสร้างคณะสัตวแพทยศาสตร์ไว้ 3 แห่ง คือ


                  1. สถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ ต�าบลแม่เหียะ
                     อ�าเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
                  2. พื้นที่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ต�าบลศรีบัวบาน อ�าเภอเมือง

                     จังหวัดล�าพูน                                           ศาสตราจารย์ ดร. สง่า สรรพศรี
                  3.  พื้นที่บริเวณหลังศูนย์วิจัยชาวเขา  ในบริเวณมหาวิทยาลัย
                     เชียงใหม่


                  จากการพิจารณาของคณะกรรมการก่อตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ ร่วม
             กับทบวงมหาวิทยาลัย ได้ข้อสรุปให้ใช้พื้นที่ในสถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรม
             การเกษตรที่ต�าบลแม่เหียะ  เนื่องจากคณะสัตวแพทยศาสตร์  จ�าเป็น
             ที่จะต้องใช้พื้นที่มากในการสร้างอาคารเรียน  โรงพยาบาลสัตว์ใหญ่
             โรงพยาบาลสัตว์เล็ก การสร้างศูนย์ฝึกอบรม และอื่นๆ ซึ่งจะต้องใช้พื้นที่

             ไม่น้อยกว่า 50 – 60 ไร่ และจะต้องไม่ห่างไกลจากที่ตั้งหลักของมหาวิทยาลัย
             มากจนเกินไป และโรงพยาบาลสัตว์เล็กก็จะต้องอยู่ใกล้ชุมชนเมือง


                  ในส่วนของคณะอนุกรรมการร่างหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต     รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์
             ได้ประชุมร่างหลักสูตรและน�าเสนอต่อคณะกรรมการชุดต่าง  ๆ  ของ          ดร. เทอด เทศประทีป
             มหาวิทยาลัย  มีการปรับปรุงแก้ไข จนกระทั่งหลักสูตรได้รับความเห็นชอบ
             จากสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในคราวประชุมวันที่ 14 เดือนพฤศจิกายน
             พ.ศ.2535 โดยในขณะนั้น ศาสตราจารย์ ดร.สง่า สรรพศรี เป็นนายกสภา
             มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ด�ารงต�าแหน่งสมัยที่ 3-4 วันที่ 20 กรกฎาคม
             พ.ศ. 2533 ถึง 19  มกราคม พ.ศ. 2536) สิ่งหนึ่งที่คณะอนุกรรมการร่าง
             หลักสูตรได้ร่วมกันคิดเพื่อที่จะให้การจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์

             มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นไปอย่างดี และมีความเข้มแข็งทางวิชาการที่
             สามารถเทียบเคียงได้กับคณะสัตวแพทยศาสตร์แห่งอื่นๆ ที่มีอยู่ก่อนแล้ว
             จึงจ�าเป็นที่จะต้องหาบุคคลที่จะมาด�าเนินการอย่างเต็มตัว (Full time)
             คณะอนุกรรมการได้มีความเห็นร่วมกันว่า รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์
             ดร. เทอด เทศประทีป ซึ่งขณะนั้นเป็นรองคณบดีฝ่ายวิชาการของคณะ
             สัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ที่มีประสบการณ์สูง
             ทั้งทางด้านวิชาการและการบริหารการศึกษาทางด้านสัตวแพทย์ คณะ


      4
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12