Page 5 - E-BOOK ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง
P. 5
วิศวกรจําเป็นต้องรู้ในข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและ ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้
กฎหมายโดยทั่วไปได้รับการกลั่นกรองเพื่อนํามาปฏิบัติเพื่อป้องกัน ความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นและส่งผล
กระทบต่อผู้อื่นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยจะอยู่ภายใต้ การกํากับดูแลหลายกระทรวง ภายใต้
พระราชบัญญัติต่างๆ ได้แก่
พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทางาน พ.ศ. 2554
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ
สภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. ๒๕๕๑
กฎหมายความปลอดภัยในการทํางาน
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติการควบคุมน้ามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติและกฎหมาย อื่นๆ พระราชบัญญัติต่างๆ จะกําหนดกฎหมายออกมาควบคุมในด้าน
ต่างๆ ได้แก่ ด้านแรงงาน ด้านก่อสร้าง ด้านเครื่องจักร ด้านอาชีวอนามัย หรือเฉพาะด้าน เช่น ด้าน
กัมมันตภาพรังสีหรือ ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
3. สาเหตุของอุบัติเหตุ (Causes of Accidents)
H.W. Heinrich ได้ศึกษาถึงสาเหตุที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุในงานอุตสาหกรรมต่างๆ ในปีค.ศ. 1920 ผลการ
ศึกษาวิจัย สรุปได้สาเหตุของอุบัติเหตุ ที่สําคัญมี 3 ประการ ได้แก่ ก. สาเหตุที่เกิดจากคน (Human Cause) มี
ั
จํานวนสูงที่สุด คือ 88% ของการเกิดอุบัติเหตุทุกคร้ง ตัวอย่างเช่น การทํางานที่ไม่ถูกต้อง ความพลั้งเผลอ ความ
ประมาท การมีนิสัยชอบเสี่ยงในการทํางาน เป็นต้น
สาเหตุจากการออกแบบที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม เช่น ด้านกระบวนการผลิต
ด้านวิศวกรรม ด้านการดัดแปลงไม่เป็นตามหลักวิชาการ (Health, Safety, Environmental impact,
Energy) เป็นต้น