Page 57 - E-BOOK ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง
P. 57

เป็นดอกหรือลายพื้นยางเพื่อกันลื่น หกล้ม รองเท้านิรภัยนี้ แบ่งออกเป็น3ระดับ ตามความทนต่อแรงกดและแรง

               กระแทกที่บริเวณเหล็กหัวบัวมักใช้งานในงานก่อสร้างทั่วไป

                       ข. รองเท้าตัวนําไฟฟ้า มีตัวนําไฟฟ้าประกอบเหล็กอยู่ที่ตัวรองเท้าเพื่อให้ประจุไฟฟ้าไหลผ่านไปได้และ

               ส่วนประกอบจําพวก nonferrous เพื่อลดการเกิดประกายไฟเนื่องจากการเสียดสี รองเท้าชนิดนี้ต้องมีคุณสมบัติ


               เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดี ป้องกันเหงื่อหรือที่เปียกชื้นของบริเวณเท้าและฝ่าเท้า ซึ่งเหงื่อและความเปียกชื้นเป็นสื่อนํา

               กระแสไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกายได้ดี รองเท้าที่ชํารุดห้ามซ่อมแซมโดยใช้ตะปู หรือลวดตรึง เพราะสิ่งเหล่านี้นํา

               กระแสไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกาย ทําให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

                       ค. รองเท้าหล่อหลอมโลหะเพื่อป้องกันความร้อนและอันตรายจากโลหะที่หลอมเหลวมักทําจากวัสดุ

               ป้องกันความร้อนเช่น อลูมิเนียมหรือแอสเบสทอส รองเท้าที่ใช้ในอุตสาหกรรมประเภทนี้ ควรเป็นรองเท้าที่ทํา

               จากวัสดุกันความร้อนได้ ส่วนบนของรองเท้าควรมีการปกคลุมบริเวณขาให้สูงขึ้นมา เพื่อป้องกันการกระเด็น

               หรือหก จากโลหะเหลวที่หลอมละลาย

                       ง. รองเท้าป้องกันการระเบิดเป็นรองเท้านิรภัยที่ป้องกันไม่ให้เกิดประกายไฟขณะการใช้งาน

                       จ. รองเท้าป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าวัสดุที่ใช้เป็นยางเพื่อรองเท้าจะไม่มีส่วนที่เป็นโลหะ ยกเว้นส่วนที่

               เป็นเหล็กหัวบัว ซึ่งจะถูกหุ้มด้วยฉนวน


                       ฉ. รองเท้าป้องกันสารเคมีทําด้วยวัสดุที่ทนต่อการกัดกร่อนของน้ามัน หรือสารเคมี


























                                           รูปที่ 3.3  ตัวอย่างรองเท้านิรภัยในงานก่อสร้าง
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62