Page 66 - E-BOOK ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง
P. 66
ข้อ ๘ ในกรณีที่ลูกจ้างต้องทํางานก่อสร้างบนพื้นต่างระดับที่มีความสูงตั้งแต่ ๑.๕๐ เมตรขึ้นไป ให้
นายจ้างจัดให้มีบันไดหรือทางลาดพร้อมทั้งติดตั้งราวกั้นหรือรั้วกันตกที่มั่นคงแข็งแรงเพื่อให้ เกิดความปลอดภัย
ข้อ ๓๐ การเจาะหรือขุดรู หลุม บ่อ คู และงานอื่นในลักษณะเดียวกัน ให้นายจ้างจัดให้มี ราวกั้นหรือรั้ว
กันตก แสงสว่าง และป้ายเตือนอันตราย ตามลักษณะของงานก่อสร้างเพื่อให้เกิดความ ปลอดภัยไว้ตลอดเวลา
ทํางาน และในเวลากลางคืนต้องจัดให้มีสัญญาณไฟสีส้มหรือป้ายสีสะท้อนแสง เตือนอันตรายให้เห็นได้ชัดเจน
ข้อ ๙๐ ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทํา งานบนที่ลาดชันที่ทํา มุมเกินสามสิบองศาจากแนวราบและสูง
ตั้งแต่ ๒ เมตร ขึ้นไป นายจ้างต้องจัดให้มีนั่งร้านที่เหมาะสมกับสภาพของงานสายหรือเชือกช่วยชีวิต และเข็ม
ขัดนิรภัยพร้อมอุปกรณ์ หรือเครื่องป้องกันอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน ให้ลูกจ้างใช้ในการทํางานเพื่อให้เกิดความ
ปลอดภัยที่มา
3. ความปลอดภัยในการทํางานนั่งร้าน
ลักษณะของงานก่อสร้างส่วนใหญ่ จะเป็นการทํางานบนที่สูงและงานใต้ดินที่มีระดับชั้นความลึกต่างๆ
ซึ่งงานเหล่านี้จําเป็นที่จะต้องใช้นั่งร้านในการก่อสร้างเพื่อให้แล้วเสร็จ
ผู้ใช้แรงงาน ช่างหัวหน้างาน ตลอดจนวิศวกรที่ทํางานด้านการก่อสร้าง จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการ
ทํางานที่สูงโดยไม่ใช้นั่งร้านด้วยเหตุนี้เราจึงควรมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับงานนั่งร้านให้มากขึ้น เพื่อให้เกิด
ความปลอดภัย จากสถิติการประสบอันตรายเนื่องจากการทํางาน ปี 2549 ของสํานักงานกองทุนเงินทดแทน
พบว่า จํานวนผู้ประสบอันตรายตกจากที่สูงมีมากถึง 9,362 ราย จากจํานวนผู้ประสบอันตราย 204,257 ราย
ประเภทของนั่งร้าน นั่งร้านที่ใช้โดยทั่วไป แบ่งออกเป็น 6 ประเภท
นั่งร้านไม้ไผ่
นั่งร้านเสาเรียงเดี่ยว
นั่งร้านเสาเรียงคู่
นั่งร้านแบบใช้ท่อเหล็ก
นั่งร้านแบบแขวน
นั่งร้านชนิดเคลื่อนที่ได้