Page 108 - โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
P. 108
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
จากผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการกระจายตัวเชิงพื้นที่ระดับภาคนั้นเป็นไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ
เป็นการกระจายตัวเชิงพื้นที่แบบกระจุกตัวหรือเป็นกลุ่มก้อน (clustered distribution) โดยส่วนใหญ่จะมีการตั้ง
โรงงานอุตสาหกรรมในบริเวณหัวเมืองหลักที่คล้ายคลึงกัน อีกทั้งการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมจะมีความแปรผัน และ
มีความแตกต่างกันที่วัตถุประสงค์ของกิจการในโรงงานอุตสาหกรรมนั้นๆ เช่น การตั้งโรงงานอุตสาหกรรมจ าพวก
เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิคหรือเหล็ก และชิ้นส่วนที่มีน้ าหนักมาก จะนิยมตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ภาคตะวันออกเนื่อง
ด้วยมีท่าเรือน้ าลึกที่สามารถขนส่งสินค้า และน าเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศได้ อีกทั้งมีการสนับสนุนจากภาครัฐที่มี
การผลักดันประเภทอุตสาหกรรมหนักให้ตั้งถิ่นฐานในภาคตะวันออก ซึ่งจะแตกต่างจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ จะพบได้ว่าเป็นโรงงานอุตสาหกรรมจ าพวกผลผลิตทางการเกษตรเป็นส่วน
ใหญ่ จึงมีความนิยมตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่ใกล้เคียงกับวัตถุดิบ เพื่อความสะดวกในการเดินทาง เพื่อคงความสดใหม่
ของวัตถุดิบในบางประเภท อีกทั้งยังช่วยในการต้นทุนในการผลิตอีกด้วย และอยู่ใกล้เคียงกับตลาด เพื่อตอบสนอง
ต่อความต้องการของผู้บริโภคเป็นส าคัญ
4.1.8 รูปแบบการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของกรุงเทพมหานครฯ
ผลการศึกษา พบว่า ภายในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีจ านวนโรงงานอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 13,696
แห่ง โดยมีการกระจายเชิงพื้นที่แบบกระจุกตัวหรือเป็นกลุ่มก้อน (clustered distribution) ทั้งนี้จะนิยมตั้งอยู่
บริเวณสองฝั่งของแม่น้ าเจ้าพระยาเป็นหลัก และมีการแผ่กระจายออกไปตามพื้นที่ข้างเคียง เนื่องด้วย
กรุงเทพมหานครเป็นแหล่งเศรษฐกิจหลักของประเภทที่มีความส าคัญ เป็นแหล่งของตลาดที่มีการรวมกลุ่มกันของ
ผู้บริโภคไว้ด้วยกัน อีกทั้งยังมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี เอื้ออ านวยต่อการคมนาคม และมีการขนส่งได้หลากหลาย
ตอบสนองต่อความต้องการ เช่น ทางเรือ ทางถนน อีกทั้งยังเพียบพร้อมไปด้วยสาธารณูปโภค-สาธารณูปการที่
ส าคัญ เช่น ถนน ท่าเรือ ขนส่งสาธารณะ รถไฟฟ้า BTS รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT และทางด่วน เพื่อความสะดวกสบาย
ในการเข้าถึงและติดต่อกับพื้นที่อื่นได้โดยง่าย อีกทั้งยังเป็นปัจจัยด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือที่วางผังเมืองที่มี
ข้อก าหนดที่แน่ชัด และมีการสนับสนุนจากภาครัฐในด้านต่างๆ จึงเป็นปัจจัยดึงดูดที่ท าให้โรงงานนิยมตั้งอยู่บริเวณ
ดังกล่าวจ านวนมาก ดังภาพ
ส านักงานศูนย์วิจัยและให้ค าปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หน้า 4 - 12