Page 141 - โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
P. 141
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
ภาพที่ 4.3-14 ผลการวิเคราะห์การกระจายตัวเชิงพื้นที่ของภาคตะวันตก
จากผลการศึกษาพบว่า ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา รูปแบบการกระจายตัวเชิงพื้นที่ระดับภาคนั้นเป็นไปใน
ทิศทางเดียวกัน กล่าวคือเป็นการกระจายตัวเชิงพื้นที่แบบกระจุกตัวหรือเป็นกลุ่มก้อน (clustered distribution)
โดยส่วนใหญ่จะมีการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในบริเวณหัวเมืองหลักที่คล้ายคลึงกัน อีกทั้งการตั้งโรงงาน
อุตสาหกรรมจะมีความแปรผัน และมีความแตกต่างกันที่วัตถุประสงค์ของกิจการในโรงงานอุตสาหกรรมนั้นๆ เช่น
การตั้งโรงงานอุตสาหกรรมจ าพวกเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิคหรือเหล็ก และชิ้นส่วนที่มีน้ าหนักมาก จะนิยมตั้งอยู่
ในบริเวณพื้นที่ภาคตะวันออกเนื่องด้วยมีท่าเรือน้ าลึกที่สามารถขนส่งสินค้า และน าเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศได้
อีกทั้งมีการสนับสนุนจากภาครัฐที่มีการผลักดันประเภทอุตสาหกรรมหนักให้ตั้งถิ่นฐานในภาคตะวันออก ซึ่งจะ
แตกต่างจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ จะพบได้ว่าเป็นโรงงานอุตสาหกรรม
จ าพวกผลผลิตทางการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ จึงมีความนิยมตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่ใกล้เคียงกับวัตถุดิบ เพื่อความ
สะดวกในการเดินทาง เพื่อคงความสดใหม่ของวัตถุดิบในบางประเภท อีกทั้งยังช่วยในการต้นทุนในการผลิตอีกด้วย
และอยู่ใกล้เคียงกับตลาด เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคเป็นส าคัญ
4.3.8 รูปแบบการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของกรุงเทพมหานครฯ
ผลการศึกษา พบว่า ภายในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีจ านวนโรงงานอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 11,080
แห่ง โดยมีการกระจายเชิงพื้นที่แบบกระจุกตัวหรือเป็นกลุ่มก้อน (clustered distribution) ทั้งนี้จะนิยมตั้งอยู่
บริเวณตามแนวสองฝั่งของแม่น้ าเจ้าพระยาเป็นหลัก และมีการแผ่กระจายออกไปตามพื้นที่ข้างเคียง เนื่องด้วย
กรุงเทพมหานครเป็นแหล่งเศรษฐกิจหลักของประเภทที่มีความส าคัญ เป็นแหล่งของตลาดที่มีการรวมกลุ่มกันของ
ส านักงานศูนย์วิจัยและให้ค าปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หน้า 4 - 45