Page 219 - โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
P. 219
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
บทที่ 7
การออกแบบเครื่องมือในการวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่
7.1 วิธีการวิเคราะห์ศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่
การวิเคราะห์ศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่นั้นพิจารณาจากปัจจัยที่เหมาะสม ส าหรับ
วิธีการวิเคราะห์ศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมทั้งในเชิงภาพรวมโดยไม่เฉพาะเจาะจงประเภท
อุตสาหกรรม และโดยรายอุตสาหกรรม ใช้รูปแบบวิธีการวิเคราะห์เหมือนกัน โดยกระบวนการเพื่อน ามาซึ่งปัจจัยที่
ใช้ในการวิเคราะห์หาพื้นที่ที่เหมาะสมมีขั้นตอนการก าหนดเกณฑ์และการวิเคราะห์หาปัจจัย ดังนี้
1) รวบรวมปัจจัยที่ใช้ส าหรับการศึกษา
2) คัดเลือกปัจจัยที่เหมาะสมโดยพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของปัจจัยนั้นๆ กับ
ศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่
3) วิเคราะห์หาช่วงการให้คะแนนของแต่ละปัจจัย โดยพิจารณาจากรูปแบบที่ปัจจัยนั้นๆ มี
อิทธิพลต่อศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่
4) จ าแนกกลุ่มของปัจจัยออกเป็นปัจจัยใหญ่
5) วิเคราะห์หาค่าน้ าหนักของปัจจัยโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัย
7.2 การคัดเลือกปัจจัยที่เหมาะสมในวิเคราะห์ศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่
ในการศึกษานี้ก าหนดให้จ านวนโรงงานในพื้นที่แสดงถึงคุณสมบัติโดยรวมของศักยภาพในการแข่งขันของ
อุตสาหกรรมเชิงพื้นที่กล่าวคือพื้นที่ที่มีศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมสูงย่อมมีโรงงานที่ด าเนินงานในพื้นที่
จ านวนมาก
จากการวิเคราะห์ทางสถิติจากปัจจัยทั้งหมดจ านวน 102 ปัจจัย พบว่ามีเพียงบางปัจจัยเท่านั้นที่มี
ความสัมพันธ์กับศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม โดยการพิจารณาการเลือกปัจจัยที่เหมาะสมจะเลือกจาก
ปัจจัยที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson’s Correlation) มีนัยส าคัญทางสถิติ (ที่ระดับนัยส าคัญ 0.05) ไม่ได้
พิจารณาจากค่าหรือเครื่องหมายของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โดยตรง ซึ่งค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ คือ ค่าที่วัด
ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรว่ามีความสัมพันธ์มากน้อยเพียงใด โดยมีค่าอยู่ระหว่าง -1 ถึง 1 ซึ่งหากมีค่าใกล้ -1
หมายความว่าตัวแปรทั้งสองตัวมีความสัมพันธ์กันอย่างมากในเชิงตรงกันข้าม หากมีค่าใกล้ 1 หมายความว่า ตัว
แปรทั้งสองมีความสัมพันธ์กันโดยตรงอย่างมาก และหากมีค่าเป็น 0 นั้นหมายความว่า ตัวแปรทั้งสองตัวไม่มี
ความสัมพันธ์ต่อกัน
จากปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับจ านวนโรงงานในพื้นที่อย่างมีนัยส าคัญ ทางผู้วิจัยได้พิจารณาเลือกปัจจัย
เหล่านั้นเป็นปัจจัยที่เหมาะสมในการน ามาศึกษาและวิเคราะห์ในกระบวนการอื่นๆ ต่อไป
ส านักงานศูนย์วิจัยและให้ค าปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หน้า 7 - 1