Page 15 - จุลสารข่าว ศูนย์ด่านเชียงราย ฉ.2 กค. 61
P. 15
วัดป่าสัก
มีประวัติเล่าขานว่า พระเจ้าแสนภู โปรดฯ
ให้สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1930 เป็นที่
ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งพระพุทธ
โฆษาจารย์น ามาถวายและโปรดฯ ให้ปลูกต้นสัก
ล้อมรอบวัด จ านวน 300 ต้น จึงได้ชื่อว่าวัดป่าสัก
ทรงตั้งให้พุทธโฆษาจารย์ เป็นสังฆราชสถิต
ณ พระอารามนี้ โบราณสถานที่ส าคัญที่สุด คือ
เจดีย์ประธานทรงมณฑปยอดระฆัง ตกแต่งด้วย
ลวดลายปูนปั้นอันวิจิตร เชื่อว่าได้รับอิทธิพลมา
จากยุคสมัยหริภุญ ฐานกว้าง 8 เมตร สูง 12.5
เมตร ตกแต่งลวดลายปูนปั้นวิจิตรพิศดาร ฝีมือ
ช่างชั้นครู เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุกระดูก
ตาตุ่มข้างขวาจากเมืองปาฏลีบุตร
ต ำนำนแห่งพระธำตุจอมกิตติ
ตามต านานโยนกระบุว่า พระเจ้าสิงหนวัติ กษัตริย์
องค์แรกแห่งราชวงศ์โยนก ได้รับพระเกศาของพระพุทธเจ้า
พระองค์จึงได้สร้างเจดีย์บรรจุพระเกศาไว้บนดอยน้อยซึ่งคือ
พื้นที่แห่งนี้ในปัจจุบัน ต่อมา พ.ศ. พระเจ้าพังคราช
กษัตริย์ราชวงศ์โยนก และพระเจ้าพรหมมหาราช โอรส
ได้รับพระไตรปิฎกและพระบรมสารีริกธาตุจากพระเถระชาว
โกศลนคร รวม 16 ชิ้น จึงแบ่งบางส่วนให้กับพญาเรือนแก้ว
ผู้ครองเมืองพะเยา พญาเรือนแก้วได้น าไปประดิษฐานไว้
บนพระธาตุที่ดอยจอมทอง เมืองพะเยา ส่วนพระบรม
สารีริกธาตุที่เหลือ ได้รับการบรรจุในโกศทอง ประดิษฐาน
ไว้ ณ ดอยน้อย และในปี พ.ศ.1483 ได้โปรดฯ ให้สร้าง
เจดีย์ ครอบทับเจดีย์องค์เดิมที่มีขนาดกว้าง 3 วา 2 ศอก
สูง 6 วา 2 ศอก เป็นแบบย่อมุมไม้สิบสองในสมัยเชียงแสน
ต่อมาเจดีย์พระธาตุทรุดโทรมมาก เจ้าฟ้าเฉลิมเมือง เจ้า
เมืองเชียงแสน ร่วมกับชาวเมืองได้ท าการบูรณปฏิสังขรณ์
ขึ้นอีกครั้ง ซึ่งจนถึงปัจจุบันเจดีย์ก็ยังคงอยู่ในสภาพสวยงาม
เช่นในอดีต
วัดพระธาตุจอมกิตติ