Page 21 - Thai Heritage from Space_ebook
P. 21
ความสนพระทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในงานพิพิธภัณฑ์ ได้น�าไปสู่การสร้างพิพิธภัณฑ์จัดแสดงไว้ตามภูมิภาคนั้นๆ มิได้
ทรงมุ่งหวังแต่เพียงการอนุรักษ์ให้คงไว้เป็นที่ภูมิใจของท้องถิ่นเท่านั้น แต่ด้วยพระราชประสงค์เพื่อให้เยาวชนในท้องถิ่นได้เรียนรู้
ศิลปวัฒนธรรม และความเป็นมาของบรรพบุรุษของตนเอง
“นี่ ถ้ากรมศิลปากรไปสร้างพิพิธภัณฑ์
ที่ไหนนะ ฉันจะไปเปิดให้”
กระแสพระราชด�ารัสที่พระราชทาน
ให้แก่กรมศิลปากรครั้งที่กราบบังคมทูล
เชิญเสด็จพระราชด�าเนินในการพิธีเปิด
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามค�าแหง ใน พ.ศ.
๒๕๐๗
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามค�าแหง จังหวัดสุโขทัย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชด�าเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรวม ๗ แห่ง คือ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๔
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามค�าแหง จังหวัดสุโขทัย วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๗
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๙
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (อาคารใหม่) กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๐
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๖
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๗
ปัจจุบันกรมศิลปากรได้จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เพื่อเก็บรวบรวมและจัดแสดงศิลปวัตถุในกรุงเทพมหานครและ
ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ รวม ๔๓ แห่ง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นผลอันเนื่องมาจากแนวพระราชด�าริ (วารสารประวัติศาสตร์, ๒๕๔๙
เรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานด้านโบราณคดีและการพิพิธภัณฑ์ โดย ผศ.สาวิตรี พิสณุพงศ์)
l 7 7